ความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยวิทยาลัยอุบลราชธานี

หัวหน้าโครงการ : ช่อทิพย์ กัณฑโชติ

ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ : วาริณี พละสาร

การสำรวจพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะที่ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึง เดือนกันยายน 2556 พบพรรณไม้พื้นล่างทั้งสิ้น 16 วงศ์ 25 สกลุ 26 ชนิด จัดอยู่ในกลุ่มใบเลี้ยงคู่ (dicot) จำนวน 14 วงศ์ 24 ชนิด และใบเลี้ยงเดี่ยว (monocot) จำนวน 1 วงศ์ 2 ชนิด และในจำนวนทั้งหมดนี้มี 4 ชนิด ที่สามารถระบุชื่อวิทยาศาสตร์ได้เพียงระดับสกุลเท่านั้น

ตัวอย่างข้อมูลและลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ground-plant2

ชื่อพื้นเมือง : บาหยา ย่าหยา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asystasia gangetica (L.) T.Anderson

วงศ์ : Acanthaceae

ไม้ล้มลุก สูง 25-60 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม เรียงตัวแบบตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ขอบใบเรียบ ฐานใบรูปลิ่มหรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ดอกเป็นดอกช่อแบบกระจะ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีม่วงอ่อนโคนเชื่อม ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมี 5 อัน เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ground-plant1

ชื่อพื้นเมือง : ถั่วหนู พุดทุ่ง พุดป่า พุดนา

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Holarrhena curtisii King & Gamble

วงศ์: Apocynaceae

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.8-2 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางขาวขุ่น ใบเลี้ยงเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2.5-4.5 ซม. ยาว 5-11 ซม. ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม ดอกเป็นดอกช่อ แบบกระจุก ออกที่ปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสี ขาวโคนเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบเลี้ยง 5 อัน เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

รายละเอียดเพิ่มเติม : ความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยวิทยาลัยอุบลราชธานี รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556