มนัส สุขสาย ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมอีสาน

มนัส สุขสาย ครูภูมิปัญญาไทย ชาวอุบลราชธานี ผู้มีองค์ความรู้และเชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมอีสาน มีผลงานศึกษาค้นคว้า เรียบเรียง ปริวรรตการเขียนวรรณกรรมสำนวนไทย-อีสาน จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มแล้ว เช่น การบายศรีสูตรขวัญ สุภาษิตอีสาน ภาพเขียนสีอุบลราชธานี ภูมิปัญญาชาวบ้านไทยอีสาน ตำราเรียนอักษรโบราณไทยอีสาน ย่าสอนหลาน ท้าวคำสอน ธรรมดาสอนโลก เฮือน 3 น้ำ 4 บุญข้าวสาก เรียกได้ว่าเป็นนักปราชญ์ของเมืองอุบลราชธานี

มนัส สุขสาย ครูภูมิปัญญาไทยด้านภาษาและวรรณกรรมอีสาน
มนัส สุขสาย ครูภูมิปัญญาไทยด้านภาษาและวรรณกรรมอีสาน

ประวัตินายมนัส สุขสาย

นายมนัส สุขสาย เป็นลูกชาวนาที่มีถิ่นกำเนิดบ้านนาหมอม้า ตำบลนาหมอม้า อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน

มนัส สุขสาย
มนัส สุขสาย

การเรียนรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของนายมนัส สุขสาย

นายมนัส สุขสาย ได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้หลัก คือ วัดในพระพุทธศาสนา โดยได้ศึกษาในเรื่องศิลปะอีสาน วิชาแผนกธรรม บาลีไวยกรณ์ อักษรโบราณ อักษรขอม อักษรธรรมและอักษรไทยน้อยอย่างแตกฉานในขณะเป็นสามเณรและพระภิกษุ ที่วัดบ้านเกิดและวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสำนักเรียนแผนกธรรม-บาลีที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน นายมนัส สุขสาย มีความรู้ที่ชัดเจนและยังสนใจศึกษาเจาะลึกเรียนในระบบ จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทำให้เรียนรู้วิธีการสืบค้นข้อมูลและการจัดระบบข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งมีวิธีการถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างน่าสนใจ ส่งผลให้นายมนัส สุขสายได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

manus_09

นายมนัส สุขสาย ใช้ความเป็นครู อาจารย์ พิธีกร วิทยากร คณะกรรมการ องค์กรต่าง ๆ และเป็นนักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ ในการถ่ายทอดความรู้ในฐานะผู้ทรงภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมอีสานที่หลากหลาย วิธีการทำให้คนในสังคมอีสานเกิดความตระหนักถึงคุณค่าในภาษาและวรรณกรรม ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนี้

1. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางสื่อสิ่งพิมพ์ ได้ศึกษาค้นคว้า เรียบเรียง ปริวรรตการเขียนวรรณกรรมสำนวนไทย-อีสาน จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มแล้ว ตัวอย่าง เช่น การบายศรีสูตรขวัญ สุภาษิตอีสาน ภาพเขียนสีอุบลราชธานี ภูมิปัญญาชาวบ้านไทยอีสาน ตำราเรียนอักษรโบราณไทยอีสาน ย่าสอนหลาน ท้าวคำสอน ธรรมดาสอนโลก เฮือน 3 น้ำ 4 บุญข้าวสาก เป็นต้น ฯลฯ

ผลงานอีกส่วนหนึ่งที่ปริวรรตและเขียนเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่นเผยแพร่  อาทิ วรรณกรรมอีสาน ศรีวิชัย นางแตงอ่อน กำพร้าไก่แก้ว ขุนทึงขุนเทือง ลุงสอนหลาน พื้นเวียง กาฬเกษ ท้าวจันทรคราส ศรีธนมโนราห์ ฯลฯ

งานเขียนวรรณกรรมมหานิบาตชาดก (พระเจ้า 10 ชาติ) เป็นสำนวนคำกลอนอีสาน 10 เรื่อง คือ เตมิยชาดก(เนกขัมบารมี) มหาชนกชาดก(วิริยบารมี) สุวรรณสามชาดก(เมตตาบารมี) เนมิราชชาดก(อธิษฐานบารมี) มโหสถชาดก(ปัญญาบารมี) ภูริทัตตชาดก(ศิลบารมี) จันทกุมารชาดก(ขันติบารมี) พรหมนารทชาดก(อุเบกขาบารมี) วิธุรชาดก(สัจจบารมี) เวสสันดรชาดก(ทานบารมี) และงานเขียนวรรณกรรมเรื่องนิบาตชาดก (พระเจ้า 500 ชาติ) เป็นสำนวนคำกลอนอีสาน

ผลงานของมนัส สุขสาย
ผลงานของมนัส สุขสาย
ผลงานของมนัส สุขสาย
ผลงานของมนัส สุขสาย

2. การเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ จัดรายการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางสื่อวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) อุบลราชธานี และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (สวศ.) อุบลราชธานีและ วปถ.อุบลราชธานี เริ่มจัดทำรายการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางสื่อวิทยุตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ออกอากาศไปแล้วว่า 3500 ครั้ง

3. การเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการทางสื่อโทรทัศน์

4. เป็นพิธีกร วิทยากรและอาจารย์ประจำ บรรยายเนื้อหาทางวิชาการตามสถานศึกษาต่าง ๆ

การที่นายมนัส สุขสาย เป็นบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม เป็นผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญามาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

ผลงานการจารวรรณกรรมท้องถิ่นของมนัส สุขสาย
ผลงานการจารวรรณกรรมท้องถิ่นของมนัส สุขสาย
ผลงานการจารวรรณกรรมท้องถิ่นของมนัส สุขสาย
ผลงานการจารวรรณกรรมท้องถิ่นของมนัส สุขสาย

ผลงาน/เกียรติคุณที่นายมนัส สุขสายได้รับ

  • พ.ศ. 2543 เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขามนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2544 ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ เป็นผู้สนองพระราชประสงค์การสืบสานศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2545 เป็นศิลปินพื้นบ้านอีสานแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ จากสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พ.ศ. 2546 ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 3 ด้านภาษาและวรรณกรรม จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • เป็นวิทยากรบรรยายเนื้อหาทางวิชาการ ด้านศิลป์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อักษร ภาษา และวรรณกรรม ภูมิปัญญาไทอีสาน
  • เป็นวิทยากรบรรยายเนื้อหาทางวิชาการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุ-สื่อวิทยุโทรทัศน์ (สวท. สวศ. และ สทท.11 อุบลราชธานี)
  • เป็นกรรมการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • เป็นกรรมการผู้ตรวจรับตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
  • เป็นอาจารย์พิเศษถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี)
  • จังหวัดอุบลราชธานีเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์เมืองอุบลราชธานี ด้านภาษา อักษร และวรรณกรรมไทยอีสาน”
  • ได้รับเกียรติบัตร-เข็มเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นจากกระทรวงวัฒนธรรม 29 กรกฎาคม 2554
  • เป็นกรรมการมูลนิธิเวียนินี่ ลาโวรีเวียนินี่ไทย (พิจารณาทุนการศึกษา ทุนเรียนดี)
  • เป็นกรรมการสภาวัฒนธรรม จังหวัดอุบลราชธานี
รางวัลและเกียรติคุณต่าง ๆ ที่นายมนัส สุขสายได้รับ
รางวัลและเกียรติคุณต่าง ๆ ที่นายมนัส สุขสายได้รับ

ผลงานด้านพุทธศาสนาของนายมนัส สุขสาย

  • เป็นกรรมการวัดศรีอุบลรัตนาราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
  • เป็นกรรมการศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี
  • ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ เกียรติบัตร เป็นผู้เกื้อกูลพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
  • ได้รับเข็มเชิดชูเกียติ-เกียรติบัตร “เป็นประชาสัมพันธ์พระพุทธศาสนาดีเด่น” จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (12 สิงหาคม 2547)
หนังสือใบลาน ผลงานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลาน ผลงานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลาน ผลงานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลาน ผลงานของนายมนัส สุขสาย

ผลจากการจกซอก ฮิบโฮม ปริวรรต-เขียนวรรณกรรมบูฮานไทอีสาน ของนายมนัส สุขสาย

1. รับราชการที่ ศนอ./ศ.อ.ศ.อ. –(ศกภ.วิทยาลัยในวัง) เป็นบรรณาธิการและเขียนหนังสืออ่านสำหรับชาวชนบท เงินสนับสนุนของซีด้า “แคนาดา” มีผลงานและพิมพ์เผยแพร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด เขียนหนังสือพิมพ์เผยแพร่แล้ว 50 เรื่อง

2. ผลงานเขียนพิมพ์เผยแพร่-จำหน่าย และได้ทูลเกล้าถวายผลงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 9 เรื่อง คือ

  • ตำราเรียนอักษรโบราณไทอีสาน
  • ชานกอารัมภกถา – มหาชนกอีสาน
  • ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
  • ชายเจ็ดโบสถ์
  • พระเถรกายเน่า
  • บุญข้าวสาก
  • ธรรมดาสอนโลก
  • ท้าวคำสอน
  • เฮือน 3 น้ำ 4

3. มีผลงานการเขียนพิมพ์ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

  • อักษรธรรมโบราณไทอีสาน
  • พริกบ้านหัวเรือ
  • มะเขือบ้านก่อ
  • มะขามหวานบ้านพระโรจน์
  • การทำฆ้องบ้านสะพือ
  • ภาพเขียนสีอุบลราชธานี
  • ไม้สมุนไพรอีสาน

4. ผลงานเขียนวรรณกรรม วัดและหน่วยงานราชการพิมพ์เผยแพร่

  • การทำเครื่องปั้นดินเผา
  • การเขียนศิลปะลายไทย
  • การบาศรีสูตรขวัญ
  • ฮีต 12 คอง 14
  • สัมโภชฌงค์
  • ย่าสอนหลาน
  • มูนมังไทอีสาน
  • ภูมิปัญญาไทอีสาน
  • พระศรีอริยเมตไตย
  • สอนโลก
  • สำเร็จลุน
  • สายธานีอารยธรรมเจนละสู่อีสาน
  • ไขภาษิตโบราณอีสาน “ศนอ.” แจกงานพระกฐินพระราชทาน และส่งห้องสมุดประชาชน 17 จังหวัดในอีสาน

5.ผลงานการเขียน-ปริวรรต ที่ทำรูปเล่มพร้อมพิมพ์แล้ว

เขียน-ปริวรรต เป็นอักษรธรรม

  1. ปฐมสมโภช (อักษรธรรม)
  2. คู่มือเรียนอักษรธรรมไทล้านช้าง (สปป.ลาว-อีสาน)
  3. สิบสองตำนาน
  4. เสียวสวาท (ยอดคำสอน)
  5. ท้าวคำสอน
  6. ธรรมดาสอนโลก
  7. ชานกอารัมภกนา (มหาชนก)
  8. ผาแดงนางไอ่
  9. สัมมธิ
  10. อินทร์ใช้ชาติ
  11. ปฐมมูลมูลี
  12. นิทานศีลห้า (เดิมเป็นค่าวซอ “อักษรไทใหญ่” เมืองเชียงตุง ได้แต่งเป็นกลอนไทอีสานแล้ว)
  13. เตมิยชาดก
  14. ลัทธวิมล
  15. นิทานอุปนาคำสอน
  16. พญาปัสเสนทิโกศล
  17. เชตุพน
  18. ศรีวิชัย

เขียน-ปริวรรตเป็นอักษรไทน้อย

  1. พื้นเมืองอุบล
  2. ธรรมดาสอนโลก
  3. ปู่สอนหลาน
  4. ย่าสอนหลาน
  5. ลุงสอนหลาน
  6. อินทิยานสอนลูก (สาว)
  7. พญาช้างฉัททันต์
  8. สังข์ศิลป์ชัย
  9. พญาคำกองสอนบ่าวไพร่
  10.  กาพย์พระมุนี
  11. ตำรายาสมุนไพรไทล้านช้าง (อีสาน-สปป.ลาว)
  12. ชายเจ็ดโบสถ์
  13. พระเถรกายเน่า
  14. ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
  15. บุญข้าวสาก
  16. เฮือน 3 น้ำ 4
  17. สอนโลก
  18. การบาศรีสู่ขวัญ
  19. ไขผญาภาษิต
  20. เตมีย์ชาดก
  21. ภูมิปัญญาไทล้านช้าง
  22. ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี
  23. มหาสุปินชาดก (พุทธทำนาย)
  24. แทนค่าน้ำนม “แม่”

เขียน-ปริวรรตเป็นอักษรไทย

  1. ไตรภูมิ
  2. สัมโพชฌงค์
  3. ตำราหมอหูฮา (โหร) โบราณไทยอีสาน

เขียน-ปริวรรตเป็นอักษรขอม

  1. ชนะสันธะ
หนังสือใบลานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลานของนายมนัส สุขสาย
หนังสือใบลานของนายมนัส สุขสาย

6. ผลงานที่จกซอกฮิมโฮบ ปริวรรต-เขียนเสร็จแล้ว

6.1 หมวดอักษร ก

  1. กบกินเดือน
  2. กบฏผีบาปผีบุญ
  3. กาฬเกษ
  4. กาลนับมื้อส่วย
  5. กำพร้าไก่แก้ว
  6. กำพร้าตองตูบ
  7. ก่ำกาดำ
  8.  กำพร้าผีน้อย
  9. กาเผือก
  10. กาพย์พระมุนี
  11. กระต่ายเจ้าปัญญา
  12. กระต่ายในพระจันทร์
  13. การเฮ็ดนาของไทอีสาน
  14. ก่องข้าวน้อย
  15. การไหลเฮือไฟ
  16. การเขียนวรรณกรรมไทอีสาน

6.2 หมวดอักษร ข

  1. ขันตปา
  2. ขุนบูฮม-ขุนบรม
  3. ขุนทึงขุนเทือง
  4. ขูลูนางอั้ว
  5. ไขผญาภาษิตโบราณไทอีสาน (1290 คำ)

6.3 หมวดอักษร ค

  1. คัมภีร์ธรรมศาสตร์หลวง
  2. คัมภีร์ธรรมจักร-อาณาจักร
  3. คัมภีร์สุวรรณมุขขา
  4. คัมภีร์สร้อยสายคำ
  5. คิริมานนท์สูตร
  6. คัชนาม
  7. คำฟอง
  8. คำโคลงสุภาษิต
  9. คารวหลวง
  10. คาถาอาคม
  11. คู่มือการเรียนอักษรธรรมไทล้านช้าง

6.4 หมวดอักษร จ

  1. จันทรคาส
  2. จำปาสี่ต้น
  3. เจ็ดทะนนท์
  4. จุลศักราช-มหาศักราช

6.5 หมวดอักษร ซ

  1. เซียงเหมี่ยง
  2. ไซวิเศษ

6.6 หมวดอักษร ต

  1. เต่าคำ
  2. แตงอ่อน
  3. ต้นไม้มงคล
  4. เตมิยชาดก

6.7 หมวดอักษร น

  1. นกกะบาเผือก
  2. นกจอกน้อย
  3. นางแพงนางพา
  4. น้ำเต้าปุง
  5. นกเต็นด่อน
  6. นางผมหอม
  7. นางวิสาขา
  8. น้ำน้อยอ้อยหนู
  9. นกหัสดีลิงค์ “พระนำไปพิมพ์”
  10. ความรู้เรื่อง “นิทานไทล้านช้าง”
  • ตุ๊กแก-กับแก้
  • นกกู้หูก-นกเค้า
  • อึ่งอ่าง
  • กา-นกยูง
  • งูเหลือม
  • หอย
  • ไก่กับแหลว-เหยี่ยว
  • ลิงกับคนทอดแห
  • วัวของชาวนา
  • ช้างและมดแดง
  • หมาจิ้งจอก
  • วัวต่าง
  • นกแขกเต้า
  • หนู/กบ/แหลว-เหยี่ยว
  • สัตว์ตาทิพย์
  • บ่อเกิดแห่งสัตว์พิษ

6.8 หมวดอักษร ผ

  1. ผมหอม
  2. ผาแดงนางไอ่

6.9 หมวดอักษร บ

  1. บัวโฮม บัวเฮียว บัวฮอง
  2. บาศรีสูตรขวัญ
  3. บุรุษเปี้ยดีดกวาด
  4. บทความทางวิชาการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุ จัดรายการทาง สวท. 26 ปี
  5. บทสคริปต์-ถ่ายทำเผยแพร่ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดรายการทาง สทท.11 เป็นเวลา 10 ปี

6.10 หมวดอักษร ป

  1. ปู่สังกะสี ย่าสังกะสี
  2. ปู่สอนหลาน
  3. ปลาแดกปลาสมอ
  4. กว้านสวาย-ป่าวเทวดา (ชุมนุมเทวดาของไทล้านช้าง)
  5. ปะลำพระวสูตร
  6. ปัญญาบารมี
  7. ปูมผญาไทอีสาน

6.11 หมวดอักษร พ

  1. พุทธทำนาย
  2. ไพยราช
  3. พระลักษณ์พระราม
  4. พญาคันคาก
  5. พญาช้างฉันทันต์
  6. พื้นพระธาตุพนม
  7. พื้นเวียง
  8. พื้นเมืองอุบล

6.12 หมวดอักษร ฟ

  1. ฟ้าแดดสงยาง
  2. ฟ้าสั่งน้อง

6.13 หมวดอักษร ส

  1. สังคะทัต
  2. สัททวิมาละ
  3. สีธนมโนราห์
  4. สุทธนูชาดก
  5. สุภมิตร
  6. สุพรหมโมขขา
  7. สุริวงค์
  8. สุวรรณสังข์
  9. โสวัต
  10. สนองคุณบิดามารดาพ่อแม่
  11. สีหราชสอนลูก
  12. สุภัททะ
  13. เสนกบัณฑิต
  14. สิริจันโทวาทยอดคำสอน

6.14 หมวดอักษร ห

  1. หงส์หิน
  2. หมาหยุย
  3. หน้าผากไกลกะด้น
  4. หมอหูฮา

6.15 หมวดอักษร อ

  1. อุรังคธาตุ-อุรังคนิทาน
  2. อุปกิเลส
  3. อุณหัสวิชัย
  4. อาราธนามุงคุล

6.16 หมวดอักษร ฮ

  1. เฮือน 3 น้ำ 4
  2. ฮีต 12 คอง 14

6.17 หมวดพิเศษ ท-ม

  1. แทนค่าน้ำนมแม่
  2. มงคล 38 ประการ

7. วรรณกรรมมหานิทานชาดก (พระเจ้า 10 ชาติ)

8. วรรณกรรมนิทานชาดก (พระเจ้า 500 ชาติ)

9. บทสรุป เรื่องวรรณกรรมบูฮานไทล้านช้าง-ไทอีสาน

ก.วรรณกรรมพระพุทธศาสนา

  • มหานิบาตชาดก 10 เรื่อง
  • ปัญญาสชาดก  50 เรื่อง
  • นิบาตชาดก    357 เรื่อง
  • มงคลทีปนี 233 เรื่อง
  • ธรรมบท 275 เรื่อง
  • ชาดกนอกนิบาต 331 เรื่อง

รวมวรรณกรรมพระพุทธศาสนา 1399 เรื่อง

ข. นิทานมุขปาฐ/นิทานพื้นบ้าน มี 314 เรื่อง

รวมวรรณกรรมไทล้านช้าง/อีสาน มี 1714 เรื่อง

นายมนัส สุขสาย
นายมนัส สุขสาย
สิ่งของสะสมของนายมนัส สุขสาย
สิ่งของสะสมของนายมนัส สุขสาย

ที่อยู่ นายมนัส สุขสาย

ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บรรณานุกรม

มนัส สุขสาย. สัมภาษณ์, วันที่ 21 กรกฎาคม 2559

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี. (2552). อุบลราชธานี เมืองนักปราชญ์. อุบลราชธานี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง