พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่กรมศิลปากรตั้งขึ้น ตั้งอยู่ที่อาคารศาลากลางหลังเดิมของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรม พุทธศาสนา การปกครองในจังหวัดอุบลราชธานี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ

ลักษณะอาคาร เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนหลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคาที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้นอาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาโดยตลอด

ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ในปี พ.ศ.2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2532

พิพิธภัณฑสถานสถานแห่งชาติอุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นที่จะให้เป็นศูนย์ศึกษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรจึงมุ่งเน้นเรื่องราวด้านต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และชาติพันธุ์วิทยา

นิทรรศการในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ได้จัดแสดงนิทรรศการโดยแบ่งเป็น 10 ห้อง ดังนี้

  • ห้องจัดแสดงที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 2 ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 3 สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 4 สมัยประวัติศาสตร์เริ่มแรก วัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเจนละ (ขอมหรือเขมรสมัยก่อนเมืองนคร) ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-15
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 5 วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 6 วัฒนธรรมไทย-ลาว ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-25
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 7 ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 8 ดนตรีพื้นเมือง
  • ห้องจัดแสดงที่ 9 ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและเครื่องใช้ในครัวเรือน
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
  • ห้องจัดแสดงที่ 10 การปกครองและงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

15.227711, 104.857746

บรรณานุกรม

สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2542). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี. อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง