โน้ตเพลง บทบรรเลงดนตรีพื้นเมืองอีสาน

งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโอกาสได้จัดอบรมเทคนิคและวิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสานประเภทต่าง ๆ จากครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการ สอน การเล่น และการตั้งวงดนตรีพื้นเมืองอีสานในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนและเชิดชูครูภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อสืบสานและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป

ในการอบรมได้แบ่งออกเป็น 4 ฐาน ตามชนิดของเครื่องดนตรี ได้แก่ พิณ แคน โหวด และโปงลาง โดยเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนสามารถเลือกเข้าอบรมได้ตามความถนัดและความชอบของตนเอง วิทยากรผู้ให้ความรู้ประกอบด้วย

อาจารย์ธีระ โกมลศรี (ครูภูมิปัญญาไทย) ประจำฐานโปงลาง

อบรมดนตรีพื้นเมืองอีสาน

อาจารย์ธนิตชาติ ทองมงคล ประจำฐานแคนอบรมดนตรีพื้นเมืองอีสาน

อาจารย์อาคม ศรประสิทธิ์ ประจำฐานพิณอบรมดนตรีพื้นเมืองอีสานอาจารย์วิริยะ วัฒนดิลก ประจำฐานโหวดอบรมดนตรีพื้นเมืองอีสาน

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน ได้วางรูปแบบการอบรมร่วมกัน โดยในแต่ละวันแต่ละฐานจะทำการสอนให้เล่นเพลงเดียวกัน และในชั่วโมงสุดท้ายของแต่ละวันจะให้ทุกคนที่เล่นเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมาเล่นร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เห็นความพยายามในการฝึกฝนของเด็ก ๆ เพื่อที่จะเล่นให้ได้และเล่นให้ทันกับคนอื่น ๆ วิทยากรจะให้คำแนะนำ กระตุ้น และชื่นชมให้กำลังใจแก่เด็ก ๆ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและมีความสนุกสนานเพลินเพลินในการเล่น

กาญจนา วัฒนะพิพัฒน์ และศรัณย์ นักรบ ( 2553) กล่าวว่า การถ่ายทอดวิธีเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานในสมัยก่อนนั้นจะเรียนรู้กันแบบตัวต่อตัว ถ่ายทอดด้วยปากเปล่า ไม่มีการบันทึกเป็นโน้ตเพลงหรือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด การร้องทำนองในระดับเสียงต่าง ๆ จะเป็นการเลียนเสียงของเครื่องดนตรีนั้น ๆ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามาจึงได้มีการนำโน้ตดนตรีสากลมาใช้เรียกชื่อหรือร้องแทนระดับเสียงของดนตรีพื้นบ้านอีสาน

โน้ตเพลงที่ใช้ในการอบรมถูกรวบรวมและเรียบเรียงโดยวิทยากร มีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการประยุกต์เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถนำไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เพลงเต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา ปู่ป๋าหลาน กาเต้นก้อน ลมพัดไผ่ ลมพัดพร้าว สุดสะแนน เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ผลจากการจัดการอบรม ทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ในศิลปะการเล่นดนตรีพื้นเมืองของตนเอง สร้างสมประสบการณ์ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นยังเป็นการปลูกฝังและสร้างทัศนคติที่ดี มีความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมที่จะช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานอันดีงามนี้ให้คงอยู่สืบไป

ที่ตั้ง : จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ : 15.230193, 104.857329

บรรณานุกรม

กาญจนา วัฒนะพิพัฒน์ และศรัณย์ นักรบ. (2553). การประยุกต์ใช้พิณและโหวดของมงคล อุทก เพื่อการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล. วารสารมนุษยศาสตร์. 14 (2). หน้า 139-154

งานข้อมูลท้องถิ่น.  (2556). เอกสารประกอบการอบรม “เทคนิคและวิธีการเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน ปีที่ 2” ระหว่างวันที่ 7-10 พฤษภาคม 2556. อุบลราชธานี : งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง