สวนผลไม้เรืองศักดิ์ บ้านบุเปือย ท่องเที่ยวเชิงเกษตรอำเภอน้ำยืน

นายเรืองศักดิ์ พรมกอง เกษตรกรชาวอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้นำในการทำสวนผลไม้ของบ้านบุเปือยและเป็นผู้ผลักดันให้อำเภอน้ำยืนเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทย ภายในสวนผลไม้เรืองศักดิ์ มีการปลูกไม้ผลหลากหลายชนิดที่หมุนเวียนให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย กล้วย มะพร้าว รวมทั้งไม้ผลพื้นถิ่นอีสานด้วย

สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน

เรืองศักดิ์ พรมกอง เกษตรกรดีเด่นผู้ผลักดันงานผลไม้อำเภอน้ำยืน

นายเรืองศักดิ์ พรมกอง เกษตรกรดีเด่นอำเภอน้ำยืน ผู้มีสายตาและวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล เจ้าของสวนผลไม้กว่า 30 ไร่ ผู้ริเริ่มงานผลไม้บุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ย้อนกลับไปกว่า 30 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรบ้านบุเปือยมีอาชีพปลูกมันแกว ข้าวโพด หมุนเวียนกันในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นพืชเชิงเดี่ยว พ่อเรืองศักดิ์เองก็เช่นกัน แต่เมื่อปลูกพืชแบบนี้นานหลายปีสภาพดินก็เริ่มเสื่อมโทรม ผลผลิตลดลง ท่านจึงเห็นว่าเป็นการทำการเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง ผลผลิตอาจจะราคาต่ำหรือขายผลผลิตไม่ได้ ท่านจึงทดลองปลูกไม้ยืนต้นแบบผสมผสานในพื้นที่ของตนเองราว 50 ไร่ ซึ่งคิดว่าน่าจะความเสี่ยงน้อยกว่า ถ้าตลาดไม่ต้องการผลผลิตอะไรก็ยังจะมีผลผลิตอย่างอื่นทดแทน และสามารถมีผลผลิตขายได้ทั้งปี

สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน

พืชที่นำมาปลูกระยะแรกคือมะพร้าว ซึ่งมีทั้งมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากปีนั้นราคามะพร้าวตกต่ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มปลูกน้อยหน่า กล้วย และปลูกผลไม้อื่น ๆ ด้วย ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ละมุด มังคุด มะยงชิด ลิ้นจี่ ส้มโอ ฝรั่ง ผลไม้พื้นถิ่น เช่น ผีผ่วน ยาง คายข้าว พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ได้มาจากจังหวัดปราจีนบุรี ในระหว่างนี้ก็ทำการทดลอง สังเกตการเจริญเติบโตและผลผลิตของไม้ผลแต่ละชนิดไปด้วย เพื่อศึกษา เรียนรู้ และทำความรู้จักกับไม้ผลยืนต้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ

การปลูกไม้ผลยืนต้นของพ่อเรืองศักดิ์นั้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผลผลิตออกมาจำหน่ายตลอดทั้งปี สลับหมุนเวียนไปตามฤดูกาลผลิดอกออกผลของไม้ผลแต่ละชนิด ระยะแรกนั้นนำไปจำหน่ายด้วยตนเอง ตามตลาดนัด และนำส่งขายที่ตลาดวารินเจริญศรี ตลาดค้าขายส่งแหล่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันนายเรืองศักดิ์ มีพื้นที่ปลูกไม้ผลประมาณ 30 ไร่ มีการปลูกทุเรียนมากที่สุดกว่า 300 ต้น เนื่องด้วยทุเรียนสามารถปลูกสลับกับไม้ผลชนิดอื่น ๆ ได้ดี นอกจากนั้นแล้วยังมีการเพาะพันธุ์กล้าไม้ยืนต้นสำหรับขายอีกด้วย

สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืนสวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน

เมื่อนายเรืองศักดิ์ประสบความสำเร็จในการปลูกไม้ผล จึงทำให้พื้นที่บ้านบุเปือย มีการปลูกไม้ผลยืนต้นกันมากขึ้น อาทิ ทุเรียนที่เพิ่มขึ้นมากว่า 1000 ต้น คุณภาพของดินและน้ำที่ดีทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นมีคุณภาพ นายเรืองศักดิ์ จึงริเริ่มให้มีการจัดงานผลไม้บ้านบุเปือยขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์และขายผลไม้ผลผลิตจากบ้านบุเปือย ซึ่งก็จัดงานกันมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นแล้ว นายเรืองศักดิ์ ยังมองการณ์ไกลพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่ว่างเปล่า สร้างเป็นจุดชมวิวและที่ขายผลไม้ของเกษตรกร จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้น ซึ่งมีสมาชิก 9 ราย กลุ่มนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อซื้อผลไม้ในกลุ่มเพื่อนำไปขายที่จุดชมวิวและตลาดวารินเจริญศรี ตรึงราคาให้สมาชิกในกลุ่มให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูง และในอนาคตจะทำให้อำเภอน้ำยืนเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเที่ยวได้ทั้งปี และมีผลผลิตคุณภาพดีออกตามฤดูกาล

สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน

นายเรืองศักดิ์ เป็นเกษตรกรดีเด่นที่ได้รับรางวัลมากมายจากหน่วยงานทางการเกษตร ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลผลิตในสวน และอีกทางหนึ่งคือการยกย่องความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาของท่าน ซึ่งท่านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความยินดีที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับผู้ที่สนใจอยู่เสมอ หากผู้ใดสนใจสามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมสวนและขอคำแนะนำและความรู้ในการปลูกไม้ยืนต้นได้ตลอดเวลา

สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน สวนผลไม้-บ้านบุเปือย-ทุเรียน-อำเภอน้ำยืน

ที่ตั้ง สวนผลไม้เรืองศักดิ์

ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

บรรณานุกรม

เรืองศักดิ์ พรมกอง. (2560). สัมภาษณ์ 22 มิถุนายน 2560

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง