วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยไม้ไทย แหล่งผลิตกล้วยไม้และพืชป่าพื้นถิ่นอีสาน

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยไม้ไทย บ้านหนองครก บ้านหนองแวง แหล่งเพาะและขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสานกว่า 80 สายพันธุ์ ที่สามารถซื้อขายได้อย่างถูกกฏหมาย ตั้งอยู่ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นแล้วยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ด้านการผลิตกล้วยไม้

กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้

การผลิตและจำหน่วยกล้วยไม้ป่าพื้นถิ่นอีสานแบบถูกกฏหมาย

ณ บ้านหนองแวง และบ้านหนองครก มีพื้นที่ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม และอยู่ใกล้กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา ซึ่งบริเวณพื้นที่ที่บรรจบกันเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ หมู่บ้านเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งวิถีชีวิตหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ อาชีพส่วนใหญ่ของชุมชนจะประกอบอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ทำนา ทำไร่ มันสำปะหลัง ปอ ปลูกยางพารา เลี้ยงสัตว์ และเก็บของป่าขาย โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าที่มีมากในพื้นที่ใกล้เคียง กล้วยไม้บางชนิดหายากและมีความสวยงาม จึงเป็นที่สนใจของตลาดภายนอกและมีราคาสูง จึงล่อใจให้คนในชุมชนเข้าไปเก็บหรือรับซื้อจากผู้เข้าไปเก็บของป่าเพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มีทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน

กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้

ปัจจุบันที่แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตและเพาะพันธุ์กล้วยไม้เพื่อการอนุรักษ์แหล่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานี มีการจดทะเบียนกล้วยไม้สายพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 80 สายพันธุ์ และสามารถจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีโดดเด่นด้วยพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองและกล้วยไม้หายากที่ขึ้นในแถบเทือกเขาพนมดงรัก อำเภอน้ำยืน และจังหวัดอุบลราชธานี เช่น แดงอุบล สิงโตพัดแดง ก้ามปู ช้างกระ เอื้องผึ้ง เพชรหึง เป็นต้น ทุกสวนจะเปิดให้เข้าชมและเลือกซื้อหาพันธุ์ไม้กันได้ทุกวันในโรงเรือนเพาะขยายพันธุ์แบบง่าย ๆ ที่เกษตรกรทำขึ้น โดยทำราวแขวนกล้วยไม้และทำตาข่ายดำพรางแสงไว้ที่หน้าบ้านหรือสวนของแต่ละคน

กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยไม้ไทย ชุมชนคนรักกล้วยไม้

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยไม้ไทย จึงได้เกิดขึ้นโดยการรวมตัวกันของเกษตรกรที่สนใจการเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยคุณรำพึง แก้วเขียว เกษตรกรบ้านหนองครก เป็นรายแรก ๆ ของชุมชนที่คิดนำกล้วยไม้พื้นเมือง และพืชป่ามาทำการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้อง เดิมนั้นมีอาชีพขายกล้วยไม้ป่า โดยเริ่มต้นจากเพื่อนชักชวนมารับกล้วยไม้พื้นเมืองจากช่องเม็กไปจำหน่ายที่ตลาดนัดจตุจักร ทำได้ประมาณ 4 เดือน เกิดความรู้สึกว่าไม่มีศักดิ์ศรี ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะทำในสิ่งผิดกฎหมาย จึงได้พยายามขอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพื่อหวังจะทำให้ถูกกฎหมาย โดยการเก็บพันธุ์กล้วยไม้ป่าที่เขานำมาขายจากช่องเม็ก มาทำเป็นพันธุ์ และขยายพันธุ์ต่อมาเรื่อย ๆ จนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตกล้วยไม้ป่าจำหน่ายได้และมีการจดทะเบียนรับรอง และยังทำให้เกิดภูมิปัญญาในการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ด้วยวิธีการต่าง ๆ  เช่น การเพาะโดยใช้สปอร์ แยกหน่อ ตัดลำต้น การเพาะในโคนรากแม่ การแยกตาตะเกียง (การบังคับ) การแยกตาตะเกียง (การชำ) การเพาะแบบแยกตาตะเกียง (มีรากติด) และการเพาะแบบแยกตาตะเกียง (ไม่มีรากติด) การเพาะกล้วยไม้ด้วยอาหารวุ้น เป็นต้น

กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้  กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้

นอกจากจะเพาะพันธุ์กล้วยไม้และพันธุ์ไม้พื้นเมืองจำหน่ายแล้ว ยังเปิดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อาชีพ เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสถานที่ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรตามแนวตะเข็บชายแดน ในด้านการประกอบอาชีพ และสอนวิธีการเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมือง เพื่อลดการบุกรุกป่าเพื่อหาพืชป่าและนำสัตว์ป่ามาจำหน่าย

กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า-กล้วยไม้พื้นถิ่นอีสาน-การเพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้

พิกัดภูมิศาสตร์ :

14.452119, 105.0826650

ที่ตั้ง :

บ้านหนองแวง บ้านหนองครก ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

บรรณานุกรม :

บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด. (2553). หนองครก แหล่งเพาะพันธุ์และจำหน่ายกล้วยไม้พื้นเมือง เฟิร์น กระเช้าสีดา เฟิร์นข้าหลวงฯ, 19 กันยายน2560. http://www.rakbankerd.com/

วิบูลย์ มุระชีวะ และคณะ. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมด้านกล้วยไม้ป่า ของชุมชนบ้านหนองครก-บ้านตายอย ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง