วัดโขงเจียม อาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่น จุดชมวิวแม่น้ำสองสี

วัดโขงเจียม หรือวัดบ้านด่านเก่า อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู้ริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลบรรจบกัน ใกล้กับจุดชุมวิวแม่น้ำสองสี วัดเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุให้ได้ศึกษาเรียนรู้

วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน
วัดโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติวัดโขงเจียม

ประวัติวัดโขงเจียม หรือวัดบ้านด่านเก่า ตามที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดมหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 21 ไร่ ทิศเหนือ จดแม่น้ำโขง ทิศใต้จดห้วยหอม ทิศตะวันออกจดริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล ทิศตะวันตกจดโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2510 ศาลาการเปรียญ กว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2497 วิหาร กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2534

วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน
อาคารไม้ศาลาการเปรียญ วัดโขงเจียม
วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน
ลายปูนปั้นด้านหลังอุโบสถวัดโขงเจียม

ด้านทิศตะวันออกของวัดจะติดกับฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นจุดบรรจบกันระหว่างแม่น้ำทั้งสองสายได้อย่างชัดเจน เป็นจุดชมวิว “แม่น้ำสองสี” แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่

  1. พระพุทธรูปทองสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 40 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514
  2. พระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2465
  3. พระพุทธชินราชจำลองปางมารวิชัย ปิดทอง หน้าตักกว้าง 4 ศอก 1 คืบ สร้างเมื่อ พ.ศ.2533 มีพระนามว่า พระพุทธโลเกศวรชินราชบรมศาสดาอุดมมงคลอุบลราชธานีสุภสิริสถิต การสร้างพระพุทธชินราชนี้เพื่ออุทิศกุศลถวายแด่บรรพกษัตริย์ของชาติไทยทุก ๆ พระองค์ โดยเฉพาะอุทิศกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ และบรรดาบรรพบุรุษผู้พลีชีพเพื่อชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน
พระพุทธโลเกศวรชินราชบรมศาสดาอุดมมงคลอุบลราชธานีสุภสิริสถิต พระประธานในอุโบสถวัดโขงเจียม

วัดโขงเจียม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2392 เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดบ้านด่านเก่า” ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดด่านปากมูล” โดยเอาชื่อบ้านและชื่อแม่น้ำมูลมาผสมกัน และในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดโขงเจียม” ตามชื่ออำเภอ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2518 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร การบริหารและการปกครองวัด มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

  • รูปที่ 1 พระครูโพธิญาณ ญาณจาโร พ.ศ. 2392-2409
  • รูปที่ 2 พระเสือ สุชาโต พ.ศ. 2410-2429
  • รูปที่ 3 พระเครือคุณวโร พ.ศ. 2430-2437
  • รูปที่ 4 พระลาสา อาสโภ พ.ศ. 2438-2450
  • รูปที่ 5 พระภูธร ภูริปญฺโญ พ.ศ. 2451-2464
  • รูปที่ 6 พระเมือง มหพพโล พ.ศ. 2465-2471
  • รูปที่ 7 พระครูท้าวธมฺมทินโน พ.ศ. 2472-2481
  • รูปที่ 8 พระครูสุวรรณ วารีคณารักษ์ พ.ศ. 2482-2492
  • รูปที่ 9 พระครูปัญญาวุฒิวิบูลย์ พ.ศ.2493-2414
  • รูปที่ 10 พราะครูรัตนวารีสมานคุณ พ.ศ.2515-
วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน
โฮงฮด วัดโขงเจียม

วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน วัดโขงเจียม-วัดบ้านด่าน

ที่ตั้ง วัดโขงเจียม

บ้านด่านเก่า หมู่ที่ 1 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดโขงเจียม

15.317503, 105.501648

บรรณานุกรม

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ อำเภอโขงเจียม 2540. (2540). ประวัติเมืองโขงเจียม. อุบลราชธานี: รุ่งศิลป์การพิมพ์ออฟเซท.

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 13 กรกฎาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง