วัดอันตรมัคคาราม อุโบสถสถาปัตยกรรมฝีมือช่างญวน

วัดอันตรมัคคาราม หรือวัดบ้านเซเป็ด อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดมีอุโบสถที่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2460 สร้างด้วยปูนโดยฝีมือช่างญวน มีความแตกต่างจากอุโบสถอื่น ๆ คือ สร้างขวางตะวัน กล่าวคือ หันหน้าไปทางทิศใต้ หรือหันหน้าไปหาลำเซเป็ด หลังคาทรงจั่ว มีประตู 1 ช่อง หน้าต่าง 4 ช่อง หน้าบันปั้นเป็นรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์และนกยูง ราวบันไดทางขึ้นปั้นเป็นรูปมังกร มีรูปปั้นลิง และสัตว์ป่าหิมพานต์ ภายในอุโบสถมีพระเจ้าใหญ่วัดอันตรมัคคารามเป็นพระประธานลักษณะปูนปั้นเคลือบด้วยทอง ปางสมาธิ

ประวัติวัดอันตรมัคคาราม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติวัดอันตรมัคคาราม หรือวัดบ้านเซเป็ด ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2310 มีเนื้อที่วัด 7 ไร่ 2 งาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 อันตรมัคคาราม แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่ระหว่างทางสามแพร่ง เป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมประจำตำบลเซเป็ด ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นวัดเก่าแก่ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2505 เกิดไฟไหม้ ทำให้หนังสือใบลาน สิ่งของเครื่องใช้ เงินทองที่ญาติโยมนำมาถวายถูกไหม้ไปด้วย  โดยมีลําดับเจ้าอาวาสจากอดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้

  1. พระต่อน สุภทฺโท ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2302-2310
  2. พระจันทร์ สิริจณฺโท ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2311-2320
  3. พระสิงห์ ธมฺมทินฺโน ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ 2320-2340
  4. พระชู ชุตินฺธโร ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ 2340-2356
  5. พระสี สํวคร ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ 2356-2375
  6. พระฤทธ ิ์ กนฺตสีโล ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ 2375-2394
  7. พระบุญมี รกฺขิโต ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2394-2454
  8. พระลักษณ์ อติภทฺโท ดํารงตําแหน๋งเมื่อ พ.ศ.2454-2483
  9. พระพระครูสุวัฒน์ ธรรมคุณ ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2483-2532
  10. พระครูวิทิตวิมลกิต ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2532-2547
  11. พระครูปิยธรรมประโชติ ดํารงตําแหน่งเมื่อ พ.ศ.2547–

อุโบสถวัดอันตรมัคคาราม

อุโบสถวัดอันตรมัคคาคาม สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ.2460 สร้างด้วยปูนโดยช่างญวน เป็นอุโบสถที่มีความแตกต่างจากอุโบสถอื่น ๆ คือ สร้างขวางตะวัน กล่าวคือ หันหน้าไปทางทิศใต้ หรือหันหน้าไปหาเซเป็ด หลังคาทรงจั่ว มีประตู 1 ช่อง หน้าต่าง 4 ช่อง หน้าบันปั้นเป็นรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์และนกยูง ราวบันไดทางขึ้นปั้นเป็นรูปมังกร มีรูปปั้นลิง และสัตว์ป่าหิมพานต์ ปัจจุบันยังใช้ในอยู่ เมื่อทรุดโทรมก็มีการบูรณะ คือ หลังคาเมื่อก่อนมุงด้วยกระเบื้องดินเผาและเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสี 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2536 และ 2558 เปลี่ยนช่อฟ้าและใบระกา  ส่วนช่อฟ้าเก่านั้นก็ยังเก็บรักษาไว้ ปูนมีการผุกร่อนแต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้เนื่องจากเชื่อมกันไม่ติด

อุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
อุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
ปูนปั้นที่ตกแต่งอุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
ปูนปั้นที่ตกแต่งอุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
การตกแต่งอุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
การตกแต่งอุโบสถวัดอันตรมัคคาราม
พระเจ้าใหญ่วัดอันตรมัคคาราม
พระเจ้าใหญ่วัดอันตรมัคคาราม  พระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้นเคลือบด้วยทอง มีขนาดหน้าตัก 130 เซนติเมตร สูง 150 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมอุโบสถ

ธรรมมาสไม้ วัดอันตรมัคคาราม

ธรรมมาสไม้ของวัดอันตรมัคคาราม อายุมากกว่า 100 ปี ทำมาจากไม้ตะเคียนและไม้จิก ฉลุลายเครือดอกไม้ ขนาดประมาณ 120×120 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เมตร ยังคงรูปทรงและลวดลายดั้งเดิมแต่ลงสีใหม่ ในปี พ.ศ.2548 โดยอาจารย์เชวงศักดิ์ ศิริวัฒนานนท์ ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ในการเทศน์วันพระ เทศน์บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ เมื่อเข้าไปนั่งเทศนาแล้วเสียงจะกังวานไพเราะ

ธรรมาสวัดอันตรมัคคาราม
ธรรมาสวัดอันตรมัคคาราม
ลวดลายการตกแต่งธรรมมาส ของวัดอันตรมัคคาราม
ลวดลายการตกแต่งธรรมมาส ของวัดอันตรมัคคาราม
โฮงฮด วัดอันตรมัคคาราม
โฮงฮด วัดอันตรมัคคาราม
ลวดลายไม้แกะสลักโฮงฮด วัดอันตรมัคคาราม
ลวดลายไม้แกะสลักโฮงฮด วัดอันตรมัคคาราม
พระครูปิยธรรมประโชติ เจ้าอาวาสวัดอันตรมัคคาราม
พระครูปิยธรรมประโชติ เจ้าอาวาสวัดอันตรมัคคาราม

ที่ตั้ง วัดอันตรมัคคาราม

เลขที่ 58 บ้านเซเป็ด หมู่ 2 ตําบลเซเป็ด อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดอันตรมัคคาราม

15.545226, 104.984220866

บรรณานุกรม

พระครูปิยธรรมประโชติ. สัมภาษณ์, 20 มกราคม 2560

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 13 มีนาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง