วัดบ้านโพนทราย อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

วัดบ้านโพนทราย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านโพนทรายและแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน เช่น ผ้าผะเหวด หนังสือใบลาน ธุงผะเหวด การแทงหยวกในประเพณีแห่ประสาทผึ้ง

ประวัติวัดบ้านโพนทราย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติวัดบ้านโพนทราย ตามที่มีการบันทึกไว้เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน  อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 หอสวดมนต์ กว้าง 15 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 และศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

วัดบ้านโพนทราย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร การบริหารและการ ปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ ทราบนาม คือรูปที่ 1 พระพรหมมา รูปที่ 2 พระเคน รูปที่ 3 พระพันธ์ รูปที่ 4 พระพุทธา  รูปที่ 5 พระเฮือง สุวณฺโณ

วัดบ้านโพนทราย เป็นศูนย์รวมและยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านโพนทรายอย่างเหนียวแน่น  และยังส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีของหมู่บ้านไว้ เช่น การอนุรักษ์ผ้าผะเหวด ธุง ประเพณีการแห่ประสาทผึ้ง บุญผะเหวด

ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย

ผ้าผะเหวดหรือพระเวสสันดร วาดเมื่อปี พ.ศ. 2504  เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร 13 กัณฑ์ ผ้านี้จะแขวนในศาลาการเปรียญในช่วงงานบุญเดือน 4 หรือบุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติ ตามประเพณีฮีต 12 ของชาวอีสาน ผ้าผะเหวดผืนนี้ไม่ได้ใช้งานแล้วเนื่องจากชำรุด ผู้นำชาวบ้านมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์โดยการเย็บตรึงกับผ้าผืนใหม่ เพื่ออนุรักษ์ให้ลูกหลานได้ศึกษาและคงอยู่ยาวนานยิ่งขึ้น

ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ผ้าผะเหวด วัดบ้านโพนทราย

หนังสือใบลาน วัดบ้านโพนทราย

วัดบ้านโพนทรายได้อนุรักษ์หนังสือใบลานไว้ มีประมาณ 700 ผูก อยู่ในสภาพดี และประมาณร้อยละ 60 เป็นนิทานพื้นบ้าน เช่น พระเวสสันดร นางสิบสอง สังข์ศิลป์ไชย ผ้าห่อใบลานส่วนใหญ่จะเป็นผ้าขิดที่ทอจากเส้นไหม ซึ่งถือว่าเป็นของสูงที่ชาวบ้านให้ความเคารพบูชา

ตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
ลวดลายตู้คัมภีร์ วัดบ้านโพนทราย
หนังสือใบลาน วัดบ้านโพนทราย
หนังสือใบลาน วัดบ้านโพนทราย
หนังสือใบลาน วัดบ้านโพนทราย
หนังสือใบลาน วัดบ้านโพนทราย
บุญธรรม กากแก้ว
พ่อบุญธรรม กากแก้ว สามารถอ่านเขียนอักษรไทยน้อย อักษรธรรมจากหนังสือใบลานได้จากการศึกษาด้วยตนเองและครูพักลักจำ ขณะนี้กำลังปริวรรตหนังสือใบลานเรื่อง ยอดอภิธรรม และเรื่องอื่น ๆ และถ่ายทอดความรู้โดยการสอนให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาในหลักสูตรท้องถิ่น

ธุงผะเหวด วัดบ้านโพนทราย

วัดบ้านโพนทราย ได้ทำการเก็บรักษาและอนุรักษ์ธุงไว้ มีประมาณ 70-80 ผืน ซึ่งเป็นธุงที่มีทั้งแบบลวดลายดั้งเดิมและลวดลายแบบใหม่

ธุงผะเหวด วัดบ้านโพนทราย
ธุงผะเหวด วัดบ้านโพนทราย

ที่ตั้ง วัดบ้านโพนทราย

บ้านโพนทราย หมู่ที่ 3 ตําบลบ้านไทย อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดบ้านโพนทราย

15.457115, 104.446220000

เอกสารอ้างอิง

บุญธรรม กากแก้ว. สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2559

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551).  ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 2 มีนาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง