ผ้าขิด งานหัตถกรรมทอผ้าบ้านโพนทราย

ผ้าขิด บ้านโพนทราย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานหัตถกรรมทอผ้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบทอดกันมาช้านาน ชาวบ้านโพนทรายยังคงใช้ผ้าขิดในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าพันคอ ผ้าเบี่ยง ผ้านุ่ง และมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น หมอดขิด ผ้าคลุ่มไหล่ หัวซิ่น เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

ผ้าขิดทอเป็นผ้าเบี่ยง นิยมห่มเบี่ยงเมื่อจะไปทำบุญที่วัด
ผ้าขิดทอเป็นผ้าเบี่ยง ชาวบ้านโพนทรายนิยมห่มเบี่ยงเมื่อจะไปทำบุญที่วัด

บ้านโพนทราย ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

บ้านโพนทราย ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ตั้งมาแต่ปี พ.ศ. 2444 ชาวบ้านได้โยกย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านหนองแก้วหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ โดยการนำของปู่สุขา ย่าแหม่ม กากแก้ว เดิมพื้นที่ตั้งหมู่บ้านนี้เป็นสันโนนทรายสูง ซึ่งเรียกกันว่าโนนทราย  ต่อมาจึงเพี้ยนมาเป็นโพนทราย ลักษณะภูมิประเทศรอบ ๆ หมู่บ้านนั้นจะเป็นร่องน้ำ การไหลของน้ำทำให้ทรายถูกพัดขึ้นมาเป็นดอนทราย ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน ประมาณ 5-6 ตารางกิโลเมตร ประชากร 376 หลังคาเรือน มีสองหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีฝีมือในงานช่างไม้และช่างก่อสร้าง ร้อยละ 70 นามสกุล “กากแก้ว” ร้อยละ 20 นามสกุล “วงศาสนธิ์” และนามสกุลอื่น ๆ อีก ร้อยละ 10

ชาวบ้านโพนทรายมีความตระหนักและยังคงอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน ภูมิปัญญาของบ้านโพนทรายที่ได้สืบทอดกันมานานและมีความโดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ การทอผ้า โดยเฉพาะการทอผ้าขิด

ผ้าทอจากภูมิปัญญาของชาวบ้านโพนทราย
ผ้าทอจากภูมิปัญญาของชาวบ้านโพนทราย

การทอผ้าขิด บ้านโพนทราย

การทอผ้าขิดของบ้านโพนทราย สมัยก่อนจะนิยมทอจากผ้าไหม ปัจจุบันจะนิยมทอมาจากเส้นด้าย ซึ่งสามารถซื้อหาได้ง่าย สีที่ใช้จะเป็นสีที่สดใส เช่น แดง ส้ม น้ำเงิน เขียว เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ผ้าขิดที่พบเห็นได้ เช่น ธุง ผ้าคลุมไหล ผ้าพันคอ หมอน หมอนสามเหลี่ยม เบาะรองนั่ง เป็นต้น ชาวบ้านได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหัตถกรรมหมอนขิดขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้ตนเองในเวลาว่างเว้นจากการทำนา โดยสมาชิกแต่ละคนจะทอผ้าที่บ้านของตนและนำมารวมกันขาย ซึ่งมีการบริหารจัดการโดยประธานกลุ่ม

khid_ponsai_09 khid_ponsai_08 khid_ponsai_07

นอกจากการทอผ้าขิดแล้ว ชาวบ้านยังมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในการทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วย ซึ่งแต่ก่อนนั้นจะมีทั้งการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แล้วสาวเส้นไหมมาทอผ้าสำหรับใช้ในวิถีชีวิต แต่ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไป ด้วยผู้ทอผ้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุมีการทอผ้าน้อยลง และส่วนใหญ่จะซื้อเส้นไหมสำเร็จรูปหรือเปลี่ยนมาใช้เส้นด้ายสำเร็จรูปซึ่งมีความสะดวกมากกว่า ฝีมือเชิงช่างของชาวบ้านโพนทรายนั้นมีความละเอียดและประณีต ผ้าทอที่ได้จึงมีความสวยงาม ลวดลายที่ทอส่วนใหญ่ก็สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น การทำซิ่นก่วย ซิ่นคั่น ที่มีการต่อหัวต่อตีน ลายหมากจับ ลายขนมเปียกปูน เป็นต้น

khid_ponsai khid_ponsai_06 khid_ponsai_10 khid_ponsai_11

ปัจจุบัน ผู้นำหมู่บ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาการทอผ้าที่สืบทอดกันมานาน จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมนี้ไว้โดยได้จัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของตำบล ซึ่งได้รับการสนับสนุนและการตอบรับเป็นอย่างดี

สุวรรณ อนุสาร ผู้เชี่ยวชาญในการทอผ้าของบ้านโพนทราย
สุวรรณ อนุสาร ผู้เชี่ยวชาญในการทอผ้าของบ้านโพนทราย

khid_ponsai_01

ที่ตั้ง ผ้าขิดบ้านโพนทราย

บ้านโพนทราย ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ ผ้าขิดบ้านโพนทราย

15.456668, 104.446981

บรรณานุกรม

บุญธรรม กากแก้ว. สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2559

สุวรรณ อนุสาร. สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2559

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง