วัดชัยภูมิการาม สักการะพระพุทธรูปล้านช้าง ชมสิมมหาอุต

วัดชัยภูมิการาม หรือ วัดกลาง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี วัดเก่าแก่ที่ภายในวัดมีอุโบสถสิมแบบมหาอุตที่มีบันไดนาคสวยงามแปลกตาเป็นที่ประดิษฐานของพระสิทธิมงคล พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ศิลปะล้านช้าง และชมภาพเขียนสีจิตรกรรมฝาผนังแบบอีสาน

อุโบสถวัดชัยภูมิการาม
อุโบสถวัดชัยภูมิการาม

ประวัติวัดชัยภูมิการาม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติวัดชัยภูมิการาม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตามที่มีการบันทึกไว้นั้นเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดถนนกงพะเนียง ทิศใต้จดถนนวิศิษฐ์ศรี ทิศตะวันออกจดที่ดินนายแสวง กุลสิงห์ ทิศตะวันตกจดถนนกิจไพบูลย์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง 15 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 กุฏิสงฆ์จํานวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลังครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 หลัง และตึก 1 หลัง และศาลาบําเพ็ญกุศล จํานวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีต มีพระสิทธิมงคลเป็นพระประธานในอุโบสถ

วัดชัยภูมิการามหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดกลาง” เป็นวัดที่เก่าแก่และเป็นที่เคารพของชาวบ้านในเมืองเขมราฐอีกหนึ่งแห่ง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2317 ในเมืองเขมราฐซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน เมื่อตั้งวัดขึ้นจึงตั้งชื่อว่า วัดชัยภูมิ อาจารย์พิบูล ใจแก้ว อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือ ให้ข้อมูลว่า การสร้างวัดนั้นสันนิษฐานว่ารับเอาวัฒนธรรมพุทธศาสนามาจากเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ช่วงเวลาการสร้างวัดเป็นช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราชแห่งลาวราชอาณาจักรล้านช้าง ตรงกับไทยในสมัยพระเจ้าประสาททอง พระเทพราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2180-2237 บ้านกงพะเนียงก็รับเอาวัฒนธรรมมาสร้างวัดเช่นกัน นับจากวัดกลางเป็นวัดที่เก่าแก่แต่โบราณ ก่อนที่จะมายกฐานะเป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี ต่อมาได้รับการบูรณะอุปถัมภ์ท่านเจ้าเมืองเจ้าคณะเมืองและเจ้าแขวงเจ้าคณะอำเภอ ตามลำดับและเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 3 ญาท่านสา เจ้าคณะเมืองได้เข้าเฝ้าในรัชกาลที่ 3 ที่กรุงเทพได้รับพระราชทานโปรดเกล้าตั้งชื่อว่า วัดชัยภูมิการาม

กุฏิไม้สัก วัดชัยภูมิการาม
กุฏิไม้สัก ภายในวัดชัยภูมิการาม สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2478 จนปี 2560 ได้ดำเนินการบูรณะใหม่

รายชื่อเจ้าอาวาสวัดชัยภูมิการาม

  1. ญาท่านขัย เจ้าคณะเมือง พระเทพวงศา (ก่ำ) 2357
  2. ญาท่านคูณ เจ้าคณะเมือง พระเทพวงศา (ก่ำ) 2369
  3. ญาท่านเฝือ เจ้าคณะเมือง พระเทพวงศา (บุญจัน) 2395-2371
  4. ญาท่านสา เจ้าคณะเมือง พระเทพวงศา (บุญเช้า) 2395-2396
  5. พระครูเขมรัฐฐานุรักษ์ (ญาถ่านลี) สร้างอุโบสถ พ.ศ. 2440 พระเทพวงศา (บุญสิง) พ.ศ. 2396-2410
  6. พระครูเขมรัฐมุณี (ญาท่านทอง) สร้างศาลาโรงธรรม พ.ศ. 2440 พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าเมือง
  7. พระครูบริหารเกษมรัฐ (ญาท่านเคน) สร้างกุฏิไม้สัก พ.ศ.2478 เจ้าคณะแขวง-เจ้าคณะอำเภอ-เจ้าอาวาส
  8. เจ้าอธิคาชา โชตโก (ญาท่านคชา) สร้างกุฏิไม้สัก ต่อมาก็ขุดรื้อถอน
  9. พระครูกิตติชีววัฒน์ (ญาท่านพุก) เจ้าคณะตำบลเขมราฐ เจ้าอาวาส พ.ศ.2504-2549
  10. พระปลัดเสถียร ปริสาสํโร เจ้าคณะตำบลเขมราฐ เจ้าอาวาส พ.ศ.2546-2549

วัดชัยภูมิการามมีการสร้างพระอุโบสถและโรงธรรมคู่กัน โดยพระครูเขมรัฐฐานานุรักษ์ (ญาท่านลี) เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยสร้างเป็นอุโบสถแบบมหาอุต ที่มีรูปแบบเรียบง่ายแต่ยังคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ก่ออิฐถือปูน มีหน้าต่าง 10 ช่อง หลังคา 3 ชั้น ต่อมาพระครูเขมรัฐมุณี (ญาท่านทอง) เจ้าคณะแขวง สร้างศาลาการเปรียญหรือศาลาโรงธรรมเพิ่มเติมเสร็จ พ.ศ. 2444 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีหน้าต่าง 10 ช่อง ประตู 5 ช่อง กุฏิ 100 ปี กุฏิไม้สัก พระครูบริหารเกษมรัฐ (ญาท่านเคน) สร้างเสร็จ พ.ศ. 2478 การบูรณปฏิสังขรณ์ บูรณะหลังคากุฏิ 100 ปี และบูรณะผนังโรงธรรมด้านนอกให้มั่นคงสวยงามยิ่งขึ้น

การบูรณะอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
การบูรณะอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
ด้านข้างของอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
ด้านข้างของอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
ด้านหลังของอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
ด้านหลังของอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
บันไดทางขึ้นอุโบสถวัดชัยภูมิการาม
อุโบสถวัดชัยภูมิการามมีความโดดเด่น คือ พญานาคที่อยู่ตรงบันไดทางขึ้น มี 5 หงอนไม่มีเกล็ด เท้าด้านหลังเหยียบปลา ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากรูปปั้นพญานาคทั่วไป
พระสิทธิมงคล พระประธานปางมารวิชัย พุทธศิลป์แบบล้านช้าง
พระสิทธิมงคล พระประธานปางมารวิชัย พุทธศิลป์แบบล้านช้าง
ศาลาการเปรียญหรือศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
ศาลาการเปรียญหรือศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
ศาลาการเปรียญหรือศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
ศาลาการเปรียญหรือศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
พระประธานในศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
พระประธานในศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
จิตรกรรมฝาผนังศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
ฝาผนังด้านในของศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการามมีภาพจิตรกรรมศิลปะพื้นบ้านที่วาดโดยช่างศิลป์ในสมัยก่อน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ผลของการทำความดีความชั่ว เป็นต้น มีมากกว่า 20 ภาพ
จิตรกรรมฝาผนังศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
จิตรกรรมฝาผนังศาลาโรงธรรมวัดชัยภูมิการาม
อัฐิธาตุของขุนแสงพานิช (หยุย แสงสิงแก้ว)
อัฐิธาตุของขุนแสงพานิช (หยุย แสงสิงแก้ว)
อาคารแสงสิงห์แก้ว วัดชัยภูมิการาม
อาคารแสงสิงห์แก้ว วัดชัยภูมิการาม

ที่ตั้ง วัดชัยภูมิการาม

เลขที่ 37 บ้านเขมราฐ หมู่ที่ 7 ตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดชัยภูมิการาม

16.043006, 105.220101396

บรรณานุกรม 

พิบูล ใจแก้ว. ประวัติวัดชัยภูมิการาม. (ป้ายประชาสัมพันธ์)

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 1 มีนาคม 2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง