วัดทุ่งสว่างอารมณ์ อนุสรณ์สถานโนนกุลา

วัดทุ่งสว่างอารมณ์ วัดอนุสรณ์สถานที่สร้างโดยชาวกุลาหรือชาวไทยใหญ่จากพม่าที่มาค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าในแถบอีสาน และตั้งถิ่นฐานสร้างอาชีพช่างทำทองขึ้นที่บ้านโนนใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มีการผสมผสานทางประเพณีและวัฒนธรรมอย่างลงตัว

วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน

ประวัติวัดทุ่งสว่างอารมณ์

วัดทุ่งสว่างอารมณ์ ตามหลักฐานที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีอาณาเขตทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออกจดที่ดินเอกชน และทิศตะวันตกจดที่สาธารณะประโยชน์ อาคารเสนาสนะสำคัญประกอบด้วย หอสวดมนต์ กว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2527

ศาลาการเปรียญวัดทุ่งสว่างอารมณ์ สถาปัตยกรรมผสมแบบพม่า

ศาลาการเปรียญของวัดทุ่งสว่างอารมณ์มีรูปแบบแปลกตากว่าที่อื่น ๆ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมของพม่า เนื่องว่าที่บ้านโนนใหญ่นั้นเคยมีชาวกุลาจากพม่ามาอาศัยอยู่ ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 หรือราวปี พ.ศ. 2390 เมื่อเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านก็ได้แต่งานกับหญิงชาวพื้นเมืองและตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านโนนใหญ่ ชาวกุลานั้นเดินทางมายังเมืองต่าง ๆ เพื่อค้าขาย สิ่งของที่นำมาขาย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ที่นำมาจากหมู่บ้านทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแต่เมื่ออายุมากขึ้นก็เริ่มลงหลักปักฐาน ชาวกุลาที่เข้ามาอยู่ที่บ้านโนนใหญ่นั้นมีประมาณ  15 ครอบครัว มีพ่อใหญ่คำปานเป็นหัวหน้า และในกลุ่มของผู้มานั้นประกอบด้วยหลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ ต้องซู่ ยาง กะเหรี่ยง พม่า เป็นต้น ว่ากันว่ากุลาที่บ้านโนนหญ่นั้นเป็นกลุ่มที่มีจำนวนคนมากที่สุด เมื่อเข้ามาอยู่รวมกันชาวกุลาก็ได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเองมาด้วย ทำให้เกิดการผสมผสานกันทางวัฒนธรรม

ชาวกุลาได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านโนนใหญ่มากขึ้น ด้วยว่าเป็นหมู่บ้านที่มีการทำทองขาย เศรษฐกิจดี ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ว่ากันว่าในสมัยนั้นว่าอาชีพการตีเหล็ก, ช่างทำเงิน, และช่างทำทอง นั้นเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีให้แก่ผู้ทำ โดยชาวบ้านโนนใหญ่ได้เรียนรู้จากคนลาวคนลาวที่ไปได้เทคนิควิธีการทำจากพ่อค้าชาวจีนในเมืองอุบลราชธานี หรือไม่ก็จากพวกคนลาวกันเองที่ไปทำงานนี้ในแขวงสะหวันนะเขต ชาวกุลาชอบการค้าขาย เมื่อเดินทางมาที่บ้านโนนใหญ่ก็นำสินค้ามาขาย บ้างก็มาซื้อสินค้าจากบ้านโนนใหญ่ไปขายยังที่ต่าง ๆ เมื่อมาถึงบ้านโนนใหญ่ก็เห็นว่าทำเลดี ก็มักจะมาตั้งถิ่นฐานสร้างครอบครัว จนบ้านโนนใหญ่เป็นที่รู้จักกันในนามบ้านโนนกุลา

ชาวกุลาได้ร่วมใจกันสร้างวัดของกุลาขึ้น เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจ ที่สำหรับทำบุญ และเป็นที่สำหรับให้บุตรหลานได้ศึกษาพระธรรม คือ วัดทุ่งสว่างอารมณ์ในปัจจุบัน ชาวกุลาบ้านโนนใหญ่ได้นิมนต์เจ้าบุญจ้างอินตา พระที่มีฝีมือด้านการช่างมาสร้างวัด สร้างเสร็จ เมื่อ ปี พ.ศ.2454 ที่ดินที่สร้างวัดนั้นได้มาจากการซื้อบ้างการเรี่ยไรบ้าง ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างได้มาจากดงทางปากเซ (จำปาสัก) และไม้ในบริเวณหมู่บ้าน สิ่งใดที่ไม่มีก็หามาจากพม่า อังวะ หงสาวดี เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปหินอ่อนแบบพม่า ศาลาการเปรียญมีลักษณะแบบพม่า เป็นอาคารไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี แกะลดลวน สังกะสีที่ประดับมียอดเป็นชั้น ๆ ห้อยกระดิ่งขนาดเล็ก ๆ โดยรอบ เมื่อวัดสร้างเสร็จ ระยะแรกได้นิมนต์พระสงฆ์จากพม่ามาจำพรรษา มีพระพม่าอยู่ 3 รูป ได้แก่ พระกัตติยะ เจ้าบุญหม่าน (เป็นเผ่าต้องซู่) พระอุเต็กตะ พระอุเต็กตะ มรณภาพในปี พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นก็ไม่มีพระพม่ามาจำพรรษาอีกเลย ช่วงที่มีพระพม่ามาจำพรรษาอยู่นั้น ยังมีการบวชส่างลองตามประเพณีของพม่าอยู่ และหลังจากไม่มีพระพม่าแล้วก็นิยมบวขภิกษุสามเณรตามประเพณีไทย ปี พ.ศ. 2524 ศาลาการเปรียญได้พังลงด้วยความเก่าแก่ ศิลปวัตถุของชาวกุลาก็สูญหายไปด้วย ปัจจุบันศาลาการเปรียญหลังใหม่นั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบหลังเก่า เป็นอนุสรณ์แก่ชาวกุลา

วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่างอารมณ์-ชาวกุลา-บ้านโนนใหญ่-อำเภอเขื่องใน

ที่ตั้ง วัดทุ่งสว่างอารมณ์

บ้านโนนใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดทุ่งสว่างอารมณ์

15.357683, 104.602509

บรรณานุกรม

คนึงนิตย์ จันทบุตร. (2542). กุลา (บ้านโนนใหญ่) : ชาติพันธุ์ ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ถวิล แสงสว่าง. ประวัติบ้านโนนใหญ่ (หมู่3-4 ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี). อุบลราชธานี : ศิริธรรม.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). กุลา (เป็นชาวไทยใหญ่จากพม่า) บ้านโนนใหญ่ ที่อุบลราชธานี, 25 กันยายน 2560. https://www.matichon.co.th/news/247936

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). กุลาที่อุบลฯ มีประเพณีเหมือนไทยใหญ่ในพม่า, 25 กันยายน 2560. https://www.matichon.co.th/news/249087

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 13 กรกฎาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง