Title | ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2567 |
Authors | บุญเลื่อน, สายรุ้ง |
Degree | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ |
Institution | วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Keywords | การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การป้องกันโรค, ทันตกรรม, โรคเหงือกอักเสบ |
Abstract | โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคในช่องปากที่เป็นปัญหาสำคัญด้านทันตสาธารณสุข กลุ่มวัยรุ่นหรือวัยที่มีอายุประมาณ 13-19 ปี เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกสภาวะช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ Wilcoxon signed ranks test, Mann-Whiteny U Test และ ANCOVA ผลการศึกษา พบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้การป้องกันโรคเหงือกอักเสบสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.001 ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.005 ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.001 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 ค่าเฉลี่ยปริมาณคราบจุลินทรีย์ น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.001 ค่าเฉลี่ยสภาวะเหงือกอักเสบ น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.001 สรุปได้ว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วยให้นักเรียนมีความรู้รับรู้ความสามารถของตนเอง เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบดีขึ้น ส่งผลต่อปริมาณคราบจุลินทรีย์และสภาวะเหงือกอักเสบลดลง |
Title Alternate | The effects of behavior modification program for gingivitis prevention among grade 7 students, Si Narong district, Surin province |