การปรับตัวรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาธนาคารออมสิน เขต 1 และ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการปรับตัวรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาธนาคารออมสิน เขต 1 และ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2567
Authorsดวงแก้ว, พัชรพล
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการปรับตัวรับเทคโนโลยี, ธนาคารออมสิน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, พนักงานธนาคาร
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล การปรับตัวรับเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขต 1 และ 2 จังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขต 1 และ 2 จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาอิทธิพลของการปรับตัวรับเทคโนโลยีทางการเงินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขต 1 และ 2 จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานทั้งหมดของธนาคารออมสินในเขตอุบลราชธานี 1 และ 2 ทั้งหมด 23 สาขา 2 สำนักงานเขต 2 ศูนย์บริหารจัดการหนี้ ครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 183 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนและสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 26-35 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดคือ ปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท อายุการปฏิบัติงาน 0-9 ปี และมีตำแหน่งงานเป็นเจ้าหน้าที่ระดับ 6-7 ค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นการปรับตัวรับเทคโนโลยีทางการเงินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุดคือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ส่วนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การจัดการความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่วนระดับความคิดเห็นด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านปริมาณงาน ส่วนค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งงาน และระดับการศึกษาสูงสุดที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่เพศ อายุ และอายุการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ ไม่แตกต่างกัน ส่วนการปรับตัวรับเทคโนโลยีทางการเงินทั้งสามด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี การรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยี และการจัดการความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Title Alternate Technological disruption affecting efficiency of employee: a case study of government savings bank region 1 and region 2, Ubon Ratchathani province