เอกลักษณ์ที่อยู่อาศัยพื้นถิ่นลุ่มน้ำโขง จังหวัดนครพนม

หัวหน้าโครงการ :วิชิต คลังบุญครอง

การวางผังเรือนที่พักอาศัยในเมืองนครพนม

เนื่องจากแม่น้ำโขงริมแนวเขตเมืองนครพนม จะไหลจากทางทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ ทิศตะวันออก พระอาทิตย์จะขึ้นทางฝั่งลาว สังเกตว่าโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ จะหันหน้าออกสู่แม่น้ำโขง

house1

ตามปกติทั่วไปเรือนไทย เรือนผู้ไทย และเรือนเผ่าอื่น ๆ จะยึดหลักการวางเรือนโดยเฉพาะเรือนนอน เรือนหัวลอย และเรือนเกย (เซีย) โดยวางให้สันหลังคาชี้ไปทางทิศตะวันออก ตะวันตก เฉพาะเรือครัว (ไฟ) จะวางขวางตะวันออก ตะวันตก คือ ให้สันหลังคาชี้ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ หรือจะวางขวางตามเรือนนอน คือ ให้สันหลังคาชี้ไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ก็มีอยู่บ้าง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การวางตัวอาคารเรือนนอน คือ สันอาคารตามตะวัน จะถูกทิศทางลมและพระอาทิตย์ขึ้นลง ทำให้ผู้อยู่อาศัย อยู่สบาย และประหยัดพลังงานโดยวิธีธรรมชาติที่สุด แต่สำหรับจังหวัดนครพนม อาคารที่ปลูกติดกับแม่น้ำโขงส่วนมากจะเห็นว่าการวางเรือนที่พักอาศัยเอาสันหลังคาวางตามการไหลของแม่น้ำโขง จะเห็นว่าตอนเช้าจะมีแสงแดดส่งเข้าเรือนนอนทางด้านยาวของตัวเรือน การแก้ปัญหาโดยการทำเซีย (เกย) ออกมาบังด้านนี้พร้อมกับเพิ่มผนังและหน้าต่าง  หรือตีไม่ระแนงบังแสงแดดร้อนตอนเช้าจนถึงเที่ยงวันจะมีให้เห็นอยู่ทั่วไป เรือนท้องถิ่นตามหมู่บ้านของเผ่าต่าง ๆ ก็เช่นกัน ส่วนมากจะยึดถือการวางแบบเก่า คือ สันหลังคาอาคารวางไว้สันชี้ไปทางทิศตะวันออก ตะวันตก แต่ก็ไม่ทุกหลังคาเรือนเสมอไป มีการวางเรือนนอนให้สันหลังคาชี้ไปทางทิศเหนือ-ใต้ ก็มี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ก็มี

house2

รายละเอียดเพิ่มเติม : เอกลักษณ์ที่อยู่อาศัยพื้นถิ่นลุ่มน้ำโขง จังหวัดนครพนม รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2553