การศึกษาเปรียบเทียบศิลปะไม้แกะสลักแถบลุ่มน้ำโขงของไทย และสปป.ลาว

หัวหน้าโครงการ : ประทับใจ สิกขา

กากะเยีย เป็นชั้นวางคัมภีร์ใบลานทำเป็นชั้น ๆ คล้ายบันได ภาคเหนือเรียกว่า ชั้นแก้ว ภาคอีสาน เรียกว่า กากะเยีย/ขากะเยีย หรือขาสะเงีย สำหรับในภาคอีสานอาจมีการเรียกแตกต่างไปบ้างตามภาษาถิ่น ถือเป็นสิ่งของที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นชั้นวางสำหรับวางคัมภีร์ใบลานในระหว่างที่มีพิธีแสดงพระธรรมเทศนา ในความเชื่อทางพุทธศาสนาคัมภีร์ถือว่าเป็นของสูง อันหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

kakayear

ส่วน ขาเขีย ในบางแห่งเรียกเหมือนกันว่า กากะเยีย ไม่ได้แยกชื่อ ถือเป็นชั้นวางเช่นเดียวกัน เป็นที่ตั้งคัมภีร์ใบลานขณะแสดงธรรมเทศนา ส่วนใหญ่มักเป็นลักษณะไขว้พับเก็บได้ นิยมแกะสลักลายที่ขา และส่วนบน  คัมภีร์ใบลานเป็นของที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ชำรุดเสียหายได้ง่าย การใช้ต้องระมัดระวัง ดังนั้น ขาเขียจึงต้องมีการออกแบบที่พอดีกับระดับการนั่งอ่าน การเปิดอ่าน ขนาดความยาวพอดีกับคัมภีร์ ความกว้างต้องพอดีกับการเปิดใช้งาน การออกแบบรูปทรงและการตกแต่งต้องดูแล้วน่าเลื่อมใสศรัทธา ถือเป็นภูมิปัญญาของช่างพื้นบ้าน

kakayear2

รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษาเปรียบเทียบศิลปะไม้แกะสลักแถบลุ่มน้ำโขงของไทย และสปป.ลาว รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2553