รูปแบบและแนวทางการจัดตั้งและการประกวดตัดสินวงดนตรีพื้นเมืองอีสาน

หัวหน้าโครงการ : ขนิษฐา ทุมมากรณ์

อาจารย์จิรวัฒน์  สว่างวงศ์ ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นดนตรีพื้นเมืองอีสานเข้าไปในโรงเรียน ผู้ที่มีส่วนสำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารและจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนครูผู้สอน เป็นผู้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ คือ การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ตามสภาพความพร้อม บริบทของสถานศึกษาในฐานะของบุคลากรทางการศึกษาที่ทำงานด้านบันเทิงเชิงวิชาการ

local-music6

แนวคิด “1 วิธีการ 2 รูปแบบ 3 แนวทาง และ 10 ขั้นตอน การประยุกต์ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานในโรงเรียน”

1 วิธีการ การนำดนตรีพื้นเมืองอีสานเข้าในโรงเรียน

การนำดนตรีพื้นเมืองอีสานเข้าในโรงเรียนที่ถูกต้องและเกิดความยั่งยืนมีวิธีการเดียวคือ การนำเข้าสู่โรงเรียนผ่านการบริหารงานวิชาการ การบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดทำเป็น หลักสูตรสถานศึกษา

2 รูปแบบ การประยุกต์ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานในโรงเรียน

จากการศึกษาเอกสาร รายงานการวิจัย และประสบการณ์บริหารงานวิชาการที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสามารถนำเอาดนตรีพื้นเมืองอีสาน เข้ามาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน 2 รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ คือ

  1. รูปแบบการบริหารจัดการภายใน คือ ใช้ครูและบุคลากรในโรงเรียนเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของครู และธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ ธรรมชาติวิชา และความพร้อมของโรงเรียน
  2. รูปแบบการบริหารจัดการภายนอก คือ ใช้วิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านศิลปกรรมดนตรีพื้นเมือง/ดนตรีพื้นบ้าน เข้ามาเป็นผู้ช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามธรรมชาติของภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละด้าน และอาจได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นและชุมชน

ทั้งสองรูปแบบ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของโรงเรียน

3 แนวทาง การนำภูมิปัญญาเข้าไปสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากการศึกษา รูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ดนตรีพื้นเมืองอีสานเข้าสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โรงเรียนมีแนวทางการนำภูมิปัญญาเข้าไปในสถานศึกษา 3 แนวทาง คือ

  1. การพัฒนา “หลักสูตรท้องถิ่น” ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 คือ การจัดทำตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รูปแบบที่ 1-5 คือ การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมเสริม การปรับเนื้อหา การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน การจัดทำสื่อการเรียนขึ้นใหม่ และการจัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นใหม่
  2. การพัฒนา “สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น” ตามหลักสูตรสถานศึกษา 2 แนวทาง คือ การบูรณาการสาระการเรียนรู้เข้ากับรายวิชาพื้นที่ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และแนวทางในการจัดทำเป็นรายวิชาที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานและ/หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
  3. การจัดทำเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และมาตรฐานการศึกษา

local-music4

local-music

รายละเอียดเพิ่มเติม : รูปแบบและแนวทางการจัดตั้งและการประกวดตัดสินวงดนตรีพื้นเมืองอีสาน รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2552