การออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

หัวหน้าโครงการ : ศักดิ์ชาย สิกขา

ความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน คือ สถานที่เก็บรวบรวม สงวนรักษาสิ่งของ เพื่อการศึกษาและให้ความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจะมีความยั่งยืนได้ต้องมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป ซึ่งมีส่วนที่จะต้องให้ความสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1.ท้องถิ่นควรมีส่วนสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่ม การจัดทำและดำเนินการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่แท้จริงจะต้องเกิดจากความต้องการ หรือเกิดจากการริเริ่มของชาวบ้าน บางแห่งอาจมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมช่วยเหลือบ้าง แต่ชาวบ้านจะทำหน้าที่ในการจัดการ ดูแลรักษา และดำเนินการเอง

museum2

2.มีเนื้อหานำเสนอที่น่าสนใจ เป็นเรื่องราวของชุมชนในด้านต่าง ๆ อันได้แก่ ประวัติความเป็นมาของชุมชน การทำมาหากิน ศาสนา และความเชื่อ ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญ อาจมีการกล่าวถึงสังคมอื่นก็เฉพาะในส่วนที่ท้องถิ่นมีการติดต่อสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมกับสังคมภายนอกเท่านั้น และต้องมีความโดดเด่นเฉพาะท้องถิ่น

museum

3.มีความหลากหลาย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแต่ละที่ จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้ และความเข้าใจถึงความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ช่วยลดทอนการหลงตัวเอง และการดูถูกเหยียดหยาม อันนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันของสังคม

museum3

4.เน้นความเรียบง่ายแต่มีความหมายต่อชุมชน สิ่งของที่จัดแสดงมีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นของมีค่า อาจเป็นศิลปะวัสดุวัตถุทางศาสนาที่ทางวัดเก็บรวบรวมไว้ หรือศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

museum4

รายละเอียดเพิ่มเติม : การออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2548, ปี 2552

next-to