การศึกษาเซลล์พันธุศาสตร์และความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

หัวหน้าโครงการ :ถาวร สุภาพรม

amphibian5

จากการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้สำรวจพบเขียด 1 ชนิด ที่เป็นการรายงานเขตการแพร่กระจายพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นครั้งแรก คือ เขียดอีโม่ (Fejervarya sp.) จำนวนโครโมโซมแบบดิพลอยด์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกของไทย มีตั้งแต่ 2n=22 ถึง 28 คณะผู้วิจัยไม่พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกของไทยที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นแบบ polyploidy เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานของ Kuramoto (1990) พบว่า จำนวนโครโมโซมของคางคกบ้าน (2n=22) อึ่งอ่างบ้าน (2n=28) อึ่งน้ำเต้า (2n=24) เขียดจะนา (2n=26) กบบัว (2n=26) กบหนอง (2n=26) กบอ่อง (2n=26) กบนา (2n=26) ปาดบ้าน (2n=26) มีจำนวนตรงกันและสอดคล้องกับการรายงานของ Kuramoto และมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 8 ชนิด คือ กบหลังไพล (2n=26) เขียดอีโม่หิน (2n=26) เขียดหลังปุ่ม (2n=26) อึ่งลาย (2n=26) อึ่งปากขวด (2n=26) อึ่งอ่างก้นขีด (2n=28) และอึ่งขาคำ (2n=24) ที่มีจำนวนโครโมโซมสอดคล้องและตรงกับรายงานของ Supaprom and Baimai (2002, 2004)

  amphibian4 amphibian2

คาริโอไทป์ของคางคกบ้าน มีรูปร่างโครโมโซมเพียง 2 แบบ คือ แบบเมตาเซนตริก และสับเมตาเซนตริกเท่านั้น และขนาดของโครโมโซมแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มขนาดใหญ่และกลุ่มขนาดเล็ก สอกคล้องกับการศึกษาคางคกในเยอรมันและญี่ปุ่น โดย U’lerich (1996) Schmid (1978a), Birstein and Mazin (1982) และ Matsui et al (1985) ตามลำดับ คางคกบ้านพบ Chromosome marker ที่มีลักษณะเป็นติ่งขนาดเล็ก (satellite) บนโครโมโซมคู่ที่ 11 สอดคล้องกับการรายงานของ Bogart (1972)

amphibian3  amphibian5

รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษาเซลล์พันธุศาสตร์และความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2548