การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของยาสมุนไพรตำรับที่มีการใช้ในเขตอีสานใต้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการควบคุมคุณภาพ

หัวหน้าโครงการ :ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์

องค์ประกอบทางเคมี-สมุนไพร

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของยาสมุนไพรตำรับที่มีการใช้ในเขตอีสานใต้ ทำการศึกษาสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ อบเชย สมุลแว้ง การพลู และชะเอม

องค์ประกอบทางเคมี-สมุนไพร

องค์ประกอบทางเคมีของสมุลแว้ง

ชื่อพฤกษศาสตร์ Cinnamomum bejolghota (Ham.) Sweet

ลักษณะเครื่องยา เปลือกไม้หนา ขนาดไม่แน่นอน สีน้าตาล มีกลิ่นหอม

ลักษณะผงยา ผงยาสีน้าตาลเข้ม เนื้อละเอียด มีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย

ปริมาณเถ้า

  • ปริมาณเถ้ารวม 1.12-1.46 %w/w
  • ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด 0.0035-0.04 %w/w

ปริมาณสิ่งสกัด 

  • สิ่งสกัดด้วยเฮกเซน 1.44-2.074 %w/w
  • สิ่งสกัดด้วยไดคลอโรมีเธน   2.28-2.938 %w/w
  • สิ่งสกัดด้วย 50% เอธานอล 19.04-28.61 %w/w
  • สิ่งสกัดด้วยน้ำ 9.29-16.49 %w/w

ปริมาณน้ำมันหอมระเหย 10.16-11.32 %w/w

ปริมาณความชื้น 11.40-11.98 %w/w

สารเคมีบ่งชี้  α-Terpineol

องค์ประกอบทางเคมี-สมุนไพร

รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของยาสมุนไพรตำรับที่มีการใช้ในเขตอีสานใต้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการควบคุมคุณภาพ รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2558