ภูมิปัญญาและบทบาทของสตรีในการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง

หัวหน้าโครงการ : ธนาทิพย์ แหลมคม

fish9

จากการสัมภาษณ์สตรีที่ทำการประมงพื้นเมืองบ้านบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง จำนวน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอสิรินธร และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 360 คน พบว่า สตรีที่ให้สัมภาษณ์มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท ครอบครัวสนับสนุนให้มีการทำประมงเช่นเดียวกันกับผู้ชาย ยกเว้นพื้นที่อำเภอโขงเจียม อาจจะมาจากความลึกของน้ำที่เพิ่มขึ้น เรียนรู้การทำประมงจากบรรพบุรุษและครอบครัว สตรีมีบทบาทในการตัดสินใจในการจัดการกับสัตว์น้ำที่จับมาได้ ยกเว้น อำเภอพิบูลมังสาหาร โดยจำหน่ายปลาสด และแบ่งปลาบางส่วนมาประกอบอาหารในครัวเรือน ในขณะเดียวกันยังคงมีการซื้อปลาจากตลาดมาบริโภคด้วย รายได้จากการประมงจะถูกนำมาใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้เป็นหลัก ในส่วนของปัจจัยจำกัดของสตรีในการทำการประมง คือ การดูแลงานบ้านและการเลี้ยงลูก จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาและบทบาทของสตรีในพื้นที่แม่น้ำมูลตอนล่างมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อให้ได้สัตว์น้ำและขายให้เกิดรายได้ในครัวเรือน

fish6

รายละเอียดเพิ่มเติม : ภูมิปัญญาและบทบาทของสตรีในการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557