แก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหลอด

การแก้หมี่

การแก้หมี่ คือ ขั้นตอนการแก้เชือกฟางที่ใช้มัดลำหมี่แต่ละลำออกให้หมดโดยใช้มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม การแก้หมี่จะต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้มีดถูกเส้นไหมขาด หมี่ที่แก้เชือกฟางออกหมดแล้ว จะเห็นลายหมี่ที่สวยงามและชัดเจนมากขึ้น

การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
ค่อย ๆ ตัดฟางที่มัดเส้นไหมแต่ละลำออก
การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
เส้นไหมที่แก้หมี่ออกแล้ว

การกวักหมี่และปั่นหลอด

ขั้นตอนนี้เป็นการนำเส้นไหมมัดหมี่ที่ย้อมสีได้ตามที่ต้องการแล้ว คล้องใส่กงแล้วถ่ายเส้นไหมให้พันรอบอัก เรียกว่า กวักหมี่ การกวักหมี่ต้องระมัดระวังอย่าให้เส้นไหมขาดตอน เพราะเมื่อนำไปทอแล้วจะไม่ได้ลายตามต้องการ จากนั้นตั้งอักและหมุนอักคลายเส้นไหมออกจากอักพันเข้าหลอดไหมที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็กในของหลา สมัยก่อนหลอดไหมจะทำด้วยต้นปอแห้งที่ลอกเปลือกออก ยาวประมาณ 2 – 3 นิ้ว ความยาวของหลอดจะต้องสัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า กล่าวคือ หลอดไหมจะต้องสามารถเข้าไปอยู่ในกระสวยได้ เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของหลา เหล็กไนและหลอดจะหมุนเอาเส้นไหมจากอักพันรอบแกนหลอดไหม ปั่นเส้นไหมเข้าหลอดจนได้ขนาดที่เหมาะกับร่องของกระสวยทอผ้า ร้อยหลอดไหมที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลัง หากร้อยผิดลำดับหรือทำเชือกร้อยหลอดขาด จะทำให้ลำดับเส้นไหมผิดไป ไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามต้องการได้ เรียกว่า หมี่ขาด

การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
ปั่นหมี่ หรือเส้นไหมจากหลาเข้าอัก เพื่อเก็บเส้นไหม
การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
กง สำหรับปั่่นหมีหรือเส้นไหมเข้าหลอด
การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
หลอดไหม หรือหลอดด้าย แต่ก่อนอาจจะทำจากเครือไส้ตัน หรือลำปอแก้ว
การแก้หมี่ กวักหมี่ ปั่นหมี่เข้าหลอด บ้านสมพรรัตน์
หลอดไหมแต่ละหลอดจะถูกเรียงร้อยไว้ตามลำดับ เพื่อให้เกิดลวดลายผ้าตามที่วางไว้

บรรณานุกรม

บริษัท สยามแฟบริค แอนด์ แฮนดิคราฟท์ จำกัด. (2557). กรรมวิธีการผลิตผ้าไหมมัดหมี่. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://siam-fabric.com.