กง

กง หรือ ระวิง หรือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับใส่ไจเส้นด้าย ทั้งไหมและฝ้าย เพื่อเตรียมกรอเข้าพักกับอัก หรือเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของเส้นด้าย เช่น เก็บส่วนที่เป็นขุย ปุ่ม ปม ต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้งาน

กง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กง และหลักตีนกง

กง จะมีแกนที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลากลม ยาวประมาณ 1-1.5 เมตร ตรงปลายแกนทั้งสองข้างจะมีไม้ไผ่เหลาแบนปลายแหลมเสียบไว้ในลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาทหรือ 4 แฉก หรือ 6 แฉก ยึดติดกับแกนกลาง มีเชือกผูกโยงระหว่างแฉก ส่วนนี้จะเป็นส่วนรองรับไจด้าย ปลายแกนจะยื่นยาวต่อจากจุดมัดแฉกเล็กน้อยเพื่อสอดเข้ากับหลักตีนกง

หลักตีนกง จะทำด้วยไม้ มีจำนวน 2 ชิ้น มีฐานยึดเพื่อให้ไม้ตั้งสูงได้ในแนวดิ่ง สูงประมาณ 0.8-1 เมตร ที่ปลายหลักจะเจาะรูสำหรับสอดแกนกง ทำให้กงหมุนได้ การวางหลักตีนกงจะวางให้มีระยะห่างพอดีกับกง เพื่อให้หมุนได้สะดวก


จำนวน : 1 ชิ้น


กง จำลอง

ลักษณะ : กงทำด้วยไม้ไผ่เหลาแบนเป็นรูปกากบาท ขึงด้วยเชือกไนล่อน หลักตีนกง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง จำนวน 1 คู่ มีฐานรูปสี่เหลี่ยม ปลายหลักเจาะรู

ขนาด : กงแต่ละแฉกยาว 15 เซนติเมตร ร้อยโยงกันด้วยไนล่อน แกนกลางทำด้วยไม้ไผ่ ยาว 34 เซนติเมตร

หลักตีนกง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร

กง หลักตีนกง กง หลักตีนกง กง หลักตีนกง กง หลักตีนกง


บรรณานุกรม :

สถาพร พันธุ์มณี, ทองเลี่ยม เวียงแก้ว และประทวน บุญปก. (2542). กง: เครื่องกรอด้าย ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์