Loading

การนำหลัก SEO มาใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้บริการสารสนเทศท้องถิ่น

งานข้อมูลท้องถิ่น ได้พัฒนาและให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นอีสานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบเว็บไซต์ โดยได้นำหลัก SEO มาใช้ เพื่อให้ Search Engine ค้นหาข้อมูลเจอ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตประเทศไทยในปี 2561 พบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยจะใช้งาน 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน โดยช่วงอายุระหว่าง 18-37 ปี หรือ Gen Y เป็นกลุ่มที่มีการใช้งานสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

และจากการจัดอันดับการใช้งานเว็บไซต์โดย และพบว่า Google เป็น search engine อันดับหนึ่งที่คนไทยใช้บริการและส่วนใหญ่เป็นการใช้งานบนสมาร์ทโฟนมากกว่าใช้บนคอมพิวเตอร์

ด้วยเหตุผลดังกล่าว งานข้อมูลท้องถิ่นและจดหมายเหตุ จึงได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น เพื่อให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้มากขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปของเว็บไซต์และฐานข้อมูลต่าง ๆ ปัจจุบันมีให้บริการมากกว่า 10 เว็บไซต์ ทั้งนี้ในการพัฒนาเว็บไซต์และฐานข้อมูลในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ก็จะเลือกนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ มาใช้ในการพัฒนา

เว็บไซต์งานข้อมูลท้องถิ่น

ปัจจุบันงานข้อมูลท้องถิ่นฯ ได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์และฐานข้อมูลโดยเลือกใช้ระบบโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต (Content Management : CMS) คือ WordPress มาใช้งาน ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่าย มีคู่มือหรือเทคนิควิธีการใช้งานเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

จากข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของคนในปัจจุบัน การพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการทำให้ ซึ่งเป็น Search engine ที่คนไทยคุ้นเคยค้นเจอเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่ให้บริการด้วย ในการพัฒนาสารสนเทศจึงได้นำหลัก SEO หรือ Search Engine Optimization มาใช้เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ และมีผู้ใช้งานมากขึ้น

SEO เป็นการทำให้อันดับของเว็บไซต์ที่แสดงบน search engine ดีขึ้น โดยเวลาใช้งาน search engine ผู้ค้นหาจะต้องใส่คำสำคัญ (Keyword) ที่ต้องการลงไป และ search engine จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับคำสำคัญมากที่สุดมาจัดเรียงอันดับ ยิ่งอันดับเว็บไซต์สูงหรือปรากฏในหน้าแรกของผลของการค้นหา เว็บไซต์นั้นก็จะมีโอกาสที่จะถูกคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์มากขึ้นด้วย เมื่อมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น ก็จะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจหรือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลได้มากขึ้นตามไปด้วย

ภาพจาก :  ThaiSEOBoard.com

ในการพัฒนาเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการให้สอดคล้อองกับหลัก SEO ดังนี้

1. โครงสร้างเว็บไซต์ที่พัฒนาหรือปรับปรุงมีการนำระบบการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS) มาใช้ เพื่อให้เว็บไซต์มีรูปแบบเดียวกัน มีการกำหนดเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์อย่างชัดเจนว่าเป็นเว็บไซต์เพื่อการบริการสารสนเทศโดยไม่หวังผลการโฆษณา ในการดำเนินการ จึงเลือกใช้ระบบของ WordPress ซึ่งมีผลดีต่อ SEO เนื่องจากวิธีเขียนโค้ดภายในของ WordPress ตรงตามมาตรฐาน W3C และโครงสร้างของ WordPress นั้นสอดคล้องและสนับสนุนให้ Google ค้นหาได้ดี โดยมี Plugin ต่าง ๆ ที่คอยช่วยบริหารเรื่องเกี่ยวกับ SEO นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถรองรับการแสดงผลได้กับทุกอุปกรณ์ (responsive website) ซึ่งเป็นมิตรกับผู้ใช้งานที่นิยมใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยสมาร์ทโฟน

2.การสร้างเนื้อหาที่ดีและประโยชน์กับผู้ใช้งาน น่าอ่าน น่าสนใจ อ่านแล้วรู้เรื่อง ไม่สั้น ไม่ยาวเกินไป สื่อความหมายชัดเจน ตรงไปตรงมา และมีการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา โดยจากผลการวิจัยต่างประเทศนั้นพบว่าเว็บไซต์ที่ติดอันดับการค้นหาในหน้าแรกมักจะมีความยาวเฉลี่ย 1,890 คำ และมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการสร้างเนื้อหา คือ การให้คำสำคัญ (keyword) เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานจะนำไปใช้ในการค้นหาด้วย Google และ Search engine ต่าง ๆ คำสำคัญจึงต้องปรากฏในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา เพื่อให้คำสำคัญมีความหนาแน่นและวางไว้ในส่วนที่เหมาะสมและสนับสนุนการค้นหาจาก Google ดังนี้

  • หัวข้อเรื่องหรือชื่อเรื่อง (title) เป็นส่วนที่แจ้งวัตถุประสงค์ และช่วยให้ผู้ใช้งานและ Google เข้าใจเนื้อหา จะมีการนำคำสำคัญมาใช้ในการตั้งหัวข้อหรือชื่อเรื่องของเนื้อหาหรือบทความ รวมทั้งส่วนของ Slug หรือส่วนกำหนด URLของเนื้อหาก็ใส่คำสำคัญลงไปด้วยเช่นกัน
  • การเขียนเนื้อหาโดยมีคำสำคัญปรากฏอยู่ที่ย่อหน้าแรก (first paragraph) ของเนื้อหา ซึ่งคำสำคัญนี้จะไปปรากฏในผลการค้นหาต่อจากชื่อเรื่อง สร้างโอกาสในการเข้าชมเว็บไซต์ให้มากขึ้น รวมทั้งหัวเรื่องหรือชื่อเรื่องรองที่อยู่ภายในเนื้อหาก็ควรมีคำสำคัญปรากฏอยู่ด้วยเช่นกัน
  • การใช้คำสำคัญในการตั้งชื่อไฟล์ภาพ การใส่ชื่อภาพ และคำขยายความของภาพ เป็นอีกทางที่ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของคำสำคัญ และทำให้เข้าใจความหมายของภาพ และช่วยให้ภาพนั้นอยู่ในการค้นหาด้วยภาพ หรือ image อีกด้วย

3.การออกแบบให้หน้าเพจต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงกัน ทั้งการเชื่อมโยงกันระหว่างเว็บไซต์ (external links) และเชื่อมโยงกันภายในเว็บไซต์ (internal links)โดยอาศัยหลัก Backlink หรือ ลิงค์ที่ชี้กลับมาที่เว็บไซต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยบอก search Engine อย่าง Google ให้รู้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นได้รับการยอมรับ และมีการทำเป็นอ้างอิงกลับมาให้จากเว็บไซต์อื่น ๆ ยิ่งมีจำนวน Backlink มากเท่าไร ก็มีโอกาสที่ Google ก็จะให้คะแนนกับหน้า ๆ นั้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อันดับการค้นหาเพิ่มขึ้นด้วย

บรรณานุกรม : 

WP.(2561). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก-“กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561,https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018/

Padvee web school. (2561).การใช้ Yoast SEO เขียนบทความอย่างไร ให้ไฟเขียวติด. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561, https://padveewebschool.com/yoast-seo-tip/

Pornthep Khetrum. (2558). Backlinks คืออะไร สำคัญอย่างไรในการทำ SEO. เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561, https://googleanalyticsthailand.com/2015/12/22/backlink-คืออะไร-สำคัญอย่างไร/

Pornthep Khetrum. (2558). การทำ SEO คืออะไร เรียนรู้ 5 เทคนิคง่าย ๆ ทำด้วยตนเอง ไม่ต้องจ้างใคร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561, https://googleanalyticsthailand.com/2015/12/22/seo-คืออะไร

Thai H1. (2560).  Theme ของ WordPress (CMS) คืออะไร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561, http://h1.co.th/theme-for-wordpress/

Thai H1. (2560).  SEO คืออะไร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561, http://h1.co.th/what-is-seo/

Thai H1. (2560).  เคล็ดลับ 5 ประการในการเขียนบล็อกที่ส่งผลดีต่อ SEO. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561, http://h1.co.th/5-things-to-write-good-blog/