Loading
บายศรีสู่ขวัญ-ประเพณีอีสาน

บายศรีสูดขวัญ

พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน จะทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดีเพื่อเรียกขวัญให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป โอกาสที่จะจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาส เช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย การทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ถึง 2 วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางศาสนาพุทธและวิธีทางศาสนาพราหมณ์ วิธีทางพุทธศาสนานั้นจะทำการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์นั้นก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายไว้ในนิทรรศการนี้