หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ ตั้งอยู่ชั้น 1 ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ท้องถิ่นของชุมชนและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เป็นศูนย์ส่งเสริมสร้างสำนึกท้องถิ่น ในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอุบลราชธานี

แผนผังหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ อุบลราชธานี
แผนผังหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ อุบลราชธานี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี

อาคารศูนย์วัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี ได้รับงบประมาณการสร้างจากการแปรญัตติของสภาผู้แทนราษฎร 94.8 ล้านบาท ในปี 2539 เป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี (2540-2542) โดยมอบให้อาจารย์อำนวย วรพงศธร อาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานีเป็นผู้ออกแบบตามแนวคิดของคณะกรรมการสำนักศิลปวัฒนธรรมและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดสระเกษวรมหาวิหาร เจ้าคณะใหญ่ภาคตะวันออกเป็นองค์ประธานในพิธี และเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอดุลยเดชมหาราชทรงครองราชย์ครบ 50 ปีจึงได้ตั้งชื่ออาคารนี้ว่า ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก

หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ภายในอาคารศูนย์วัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองอุบลราชธานี เริ่มเปิดให้ชมตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยแบ่งส่วนการจัดแสดงออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิเมือง ห้องภูมิราชธานี ห้องภูมิธรรม ห้องภูมิปัญญา

ห้องภูมิเมือง หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

จัดแสดงสภาพภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุในพื้นที่อุบลราชธานี และแม่น้ำโขง-ชีมูล และที่น่าสนใจ คือ โดมจำลองสภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี

ห้องภูมิเมือง หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
ห้องภูมิเมือง หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
ห้องภูมิราชธานี หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ส่วนแสดงประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองอุบลราชธานี นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ การสร้างบ้านแปงเมือง และร่องรอยทางอารยธรรมในเมืองอุบลราชธานี รวมทั้งเรื่องราวของ เจ้าเมืองในยุคต่าง ๆ การปฏิรูปการปกครอง กบฎผู้มีบุญ การปกครองสมัยประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนสำคัญและขบวนการเสรีไทยในในอีสาน นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีการสร้างนกหัสดีลิงค์เพื่อใช้ในการปลงศพพระเถระและเจ้าเมือง

ห้องภูมิราชธานี หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ห้องภูมิราชธานี หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
ห้องภูมิราชธานี หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ส่วนแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอุบลราชธานีและชาวอีสาน อันประกอบด้วยปัจจัยทั้ง 4 อย่าง คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย (เฮือนและหมู่บ้านอีสาน) เครื่องนุ่งห่ม (ผ้าและการแต่งกายของชาวเมืองอุบล) และยารักษาโรค (สมุนไพรพื้นบ้าน) นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ เพลงกล่อมเด็ก) หัตถกรรมพื้นบ้าน (การทำเครื่องปั้นดินเผา การหล่อโลหะทองเหลืองบ้านปะอาว) รวมถึงประวัติของ “คนดีศรีอุบล” ในแขนงต่าง ๆ

ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ห้องภูมิปัญญา หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ห้องภูมิธรรม หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ส่วนแสดงเกี่ยวกับพัฒนาการของพระพุทธศาสนา ที่เข้ามาในจังหวัดอุบลราชธานี จารึกวัดมหาวนาราม ประเพณีวัฒนธรรมอันเนื่องในพระพุทธศาสนา ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา และวัดสำคัญที่ตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี มีการจำลองบรรยากาศของวัดหนองป่าพง พร้อมด้วยรูปเหมือนของหลวงพ่อชา ทั้งยังมีประวัติปราชญ์เมืองอุบลในฝ่ายสงฆ์ ทั้งสายวิปัสสนาธุระ (ปฏิบัติ) และคันถธุระ (ปริยัติ) รวมทั้งมีการจัดแสดงวัตถุสิ่งของในศาสนาคารที่แสดงถึงศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เช่น คันทวย อาคารจำลองสิมวัดหลวง

ห้องภูมิธรรม หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

เงินตราโบราณ จัดแสดงหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์
เงินตราโบราณ จัดแสดงหอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ที่ตั้ง หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์

15.246988, 104.845778

บรรณานุกรม

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2554). หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 22 สิงหาคม 2559. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/artdesign

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง