หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี หน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานเอกสารของส่วนราชการต่าง ๆ ครอบคลุม 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี

ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี

ในปี พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณและใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสนามม้าเดิม ขนาดเนื้อที่ 20 ไร่ ก่อสร้างอาคารซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตแข็งแรง 3 ชั้น หลังคาทรงไทย ส่วนยอดหลังคาทำเป็นองค์พระธาตุพนมสัญลักษณ์แห่งพื้นถิ่น

อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี
อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุครบ 45 พรรษา กรมศิลปากรได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตให้เป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี” และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์  ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2538 เวลา 15.00 น. เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานีสืบไป  การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539

ปัจจุบัน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี เป็นหน่วยงานส่วนกลาง สังกัดสำนักศิลปากรที่ 11 กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานเอกสารของส่วนราชการต่างๆ ครอบคลุม 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน โดยดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. งานรวบรวมเอกสาร พิจารณา ตรวจสอบ ติดตาม รับมอบเอกสารของส่วนราชการที่ครบอายุการเก็บรักษา รวมทั้งการรวบรวมและรับมอบเอกสารจากเอกชน
  2. งานเอกสารสำคัญ  คัดเลือกและประเมินคุณค่าเอกสารที่รวบรวมได้ให้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ แล้วนำมาจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยค้นคว้า
  3. งานบันทึกเหตุการณ์ ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์  และบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่นเพื่อนำมาจัดทำเป็นจดหมายเหตุ
  4. งานบริการ ให้บริการเอกสารจดหมายเหตุในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและจัดกิจกรรมเผยแพร่งานจดหมายเหตุ

ที่ตั้ง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี

เลขที่ 74 หมู่ 10 ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 045-285522 โทรสาร 045-285523

เว็บไซต์ : www.finearts.go.th/ubonarchives/

Facebook : https://th-th.facebook.com/ubonarchives

พิกัดภูมิศาสตร์ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี 

15.263727, 104.831523

บรรณานุกรม

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี, วันที่ 23 สิงหาคม 2559. www.finearts.go.th/ubonarchives/

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง