ปัญญา แพงเหล่า นักสื่อสาร นักประชาสัมพันธ์ท้องถิ่น

ปัญญา แพงเหล่า อดีตข้าราชการครูชาวอุบลราชธานี นักเขียน นักประชาสัมพันธ์ ผู้สื่อข่าวที่มีความรู้ความสามารถและทักษะชำนาญในวิชาชีพการศึกษา เป็นผู้พัฒนายกระดับคุณภาพงานประชาสัมพันธ์ของท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีให้มีคุณภาพสูงขึ้น และเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี

ปัญญา แพงเหล่า
ปัญญา แพงเหล่า

ประวัตินายปัญญา แพงเหล่า

นายปัญญา แพงเหล่า อดีตผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ

panya (4)

นายปัญญา แพงเหล่า เป็นนักบริหาร นักประชาสัมพันธ์ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะชำนาญในวิชาชีพการศึกษา และการประชาสัมพันธ์อย่างแท้จริง ยึดหลักการและแนวคิดที่สร้างสรรค์ถูกต้องเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนางานประชาสัมพันธ์ให้ยกระดับคุณภาพของงานจากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ ผลงานประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลระดับประเทศหลายครา ท่านสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์มายาวนาน ดังจะเห็นได้จากผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน ได้แก่

  • พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน การผลิตสื่อ และจัดรายการวิทยุกระจายเสียง สวท.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน การจัดรายการวิทยุชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2519-ปัจจุบัน นักเขียนข่าว บทความ บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  • พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน นักเขียนบทความ (การศึกษา) หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง
  • พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน คอลัมน์ มอง 4 ทิศ วารสารหอการค้าอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการสมาคมผู้สื่อข่าวอุบลราชธานี

panya (5)panya (9)

นอกจากนั้นแล้ว นายปัญญา แพงเหล่ายังได้รับบัตรอนุญาตผู้ประกาศกรมประชาสัมพันธ์/ผู้ประกาศข่าวภูมิภาค เป็นผู้ประกาศข่าว จัดรายการ “การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น” ทางราชธานีเคเบิ้ลทีวี และเป็นวิทยากรอบรมความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

นายปัญญา แพงเหล่า มีการศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีความรู้อย่างต่อเนื่อง ท่านผ่านการศึกษาดูงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรมจากหลายต่างประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ลาว ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา

panya (10)

งานด้านการประชาสัมพันธ์นั้นทำให้นายปัญญา แพงเหล่า ได้รู้จักกับบุคลสำคัญ บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานีมากมาย ท่านมีความสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ จึงทำให้ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นแล้วท่านยังเป็นนักสะสมภาพเก่า ลงมือค้นคว้าศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากภาพเก่าจนได้พบข้อมูลสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี และอาจจะถือได้ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่จุดประกายให้มีการสืบค้นข้อมูลจากภาพเก่าของจังหวัดอุบลราชธานีก็ว่าได้

panya (11)

นายปัญญา แพงเหล่า มีผลงานการเขียนที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนจำนวน 2 เรื่อง คือ หนังสือ  100 เรื่องเมืองอุบล ตีพิมพ์ในปี 2554 และหนังสือชาติพันธุ์-นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และวิถีชีวิตคนอีสาน ตีพิมพ์ในปี 2555 นอกจากนี้แล้วยังมีผลงานบทความเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในฐานะของบรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว และคอลัมนีสต์

panya

เกียรติคุณและรางวัลที่นายปัญญา แพงเหล่าได้รับ

  • พ.ศ. 2543 ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาสื่อสารมวลชน (หนังสือพิมพ์) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2548 บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดอุบลราชธานี สาขาสื่อสารมวลชน
  • พ.ศ. 2550 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มหาบัณฑิต)
  • พ.ศ. 2552 รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับ 1 การประชาสัมพันธ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดีเด่น
  • พ.ศ. 2552 รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับ 2 การประกวดเขียนข่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • พ.ศ. 2554 รางวัลบุคคลแห่งปี  เนื่องในวันครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
  • พ.ศ. 2554 รางวัล D-Spirit โครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2555 ข้าราชกาพลเรือนดีเด่น จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2559 ได้รับยกย่องเชิดชูเป็นมูนมังเมืองอุบลราชธานี สาขาสื่อ

panya (18)panya (14)

ที่อยู่ นายปัญญา แพงเหล่า

อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บรรณานุกรม

ปัญญา แพงเหล่า, สัมภาษณ์ 20 สิงหาคม 2559

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง