ชุมชนทำเทียนพรรษาวัดบูรพาราม

ชุมชนทำเทียนพรรษาวัดบูรพาราม อุบลราชธานี แหล่งเรียนรู้การทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ อีกหนึ่งชุมชนที่ให้การสนับสนุนประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีทุกปี เทียนพรรษาของวัดบูรพารามจะเป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ประเภทติดพิมพ์ ชุมชนคนทำเทียนวัดบูรพารามนั้น เคยได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศในการทำต้นเทียนมาแล้วกว่า 27 ครั้ง

องค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ของวัดบูรพาราม ปี 2559
องค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ของวัดบูรพาราม ปี 2559

วัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม อุบลราชธานี ในอดีตเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมต้นกำเนิดของสายวิปัสสนากรรมฐาน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ หอไตรคู่ เป็นหอบกหรือหอไตรที่ตั้งอยู่บนบกที่งดงามด้วยศิลปกรรมท้องถิ่น นอกจากนั้นแล้ววัดบูรพารามยังได้สร้างรูปหล่อเหมือนของพระอาจารย์วิปัสสนา 5 องค์ คือ พระอาจารย์สีเทา ชัยเสโน พระอาจารย์เสา กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระญาณวิศิษย์ และพระสิทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะและระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน รูปหล่อนี้ประดิษฐานอยู่ที่สิมเก่าซึ่งเป็นฝีมือการก่อสร้างของพระอาจารย์สีทา ชัยเสโนและอาจารย์เสาร์ กันตสีโล

ช่างสุคม เชาวฤทธิ์ ช่างทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559
ช่างสุคม เชาวฤทธิ์ ช่างทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559

เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559

ในปี 2559 นั้น วัดบูรพารามได้ช่างทำเทียนมือฉมังของเมืองอุบล คือ นายสุคม เชาวฤทธิ์ เป็นหัวหน้าช่างทำเทียนพรรษา โดยรายละเอียดและองค์ประกอบของเทียนพรรษาในปีนี้ ประด้วยด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

ส่วนหน้า เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าทรงผจญธิดามาร ซึ่งมีเรื่องราวกล่าวไว้ว่า

“เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับนั่งสมาธิพิจารณาพระปริยัติพระไตรปิฎกในเรือนแก้วถ้วน 7 วัน ณ รัตนฆรเจดีย์ ในสัปดาห์ต่อมาซึ่งนับเป็นสัปดาห์ที่ 5 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับนั่งสมาธิ ณ ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ หรือต้นไทร เป็นระยะเวลาอีก 7 วัน

ในลำดับนั้น ธิดาพญามารทั้ง 3  อันได้แก่ นางราคะ นางตัณหา และนางอรดี อาสาพญามารวัสวดีผู้เป็นบิดาเพื่อมาทำลายซึ่งตบะเดชะสมเด็จพระสัพพัญญู ทั้ง 3 นางต่างใช้เล่ห์แห่งอิตถีมายา นิรมิตร่างเป็นสตรีสวยงามในวัยต่าง ๆ ตลอดจนแสดงลีลาฟ้อนรำขับร้อง หมายโลมเล้าให้พระพุทธองค์เกิดความหวั่นไหวในอำนาจแห่งตัณหา

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับมิได้เอาพระทัยใส่และมิได้ลืมพระเนตรขึ้นทัศนาการ กลับขับไล่ธิดาพญามารทั้ง 3 ให้หลีกไปด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากกิเลสตัณหาโดยสิ้นแล้ว ธิดาพญามารทั้ง 3 เมื่อได้สดับจึงปรารภว่าพญามารผู้เป็นบิดากล่าวเตือนไว้ถูกต้องแล้ว อันพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีบุคคลผู้ใดในโลกจะชักนำไปสู่อำนาจแห่งตนได้โดยแท้ แล้วต่างพากันกลับไปสำนักแห่งพญามารวัสวดี”

การทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559
การทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559

ส่วนกลาง เป็นพุทธประวัติ ตอน พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559
ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559

และส่วนท้ายเป็นพุทธชาดก ตอน พระเนมิราช เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีขั้นสูงสุด คือ ทรงแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว แม้ว่าจะถูกเชื้อเชิญให้เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ก็ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับมาบำเพ็ญบารมีในโลกมนุษย์

องค์ประกอบของเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559
องค์ประกอบของเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ของวัดบูรพาราม ปี 2559

ช่างสุคม เชาวฤทธิ์ นั้นเป็นผู้สร้างผลงานที่โดดเด่นให้กับวัดบูรพารามและวัดต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น เป็นผู้แกะบานประตูวิหารของวัดบูรพาราม  เป็นผู้สร้างศาลาเรือนไทยกุฏิสงฆ์ของวัดบูรพาราม เป็นช่างทำเทียนพรรษาของวัดบูรพารามที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 5 ปีซ้อน (ปี 2535-2540) และได้รับรางวัลศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี สาขาประติมากรรม เป็นต้น

ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559
ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559
ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559
ลวดลายและฝีมือการติดพิมพ์เทียนพรรษาของวัดบูรพาราม ปี 2559
หุ่นองค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ วัดบูรพาราม ปี 2559
หุ่นองค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ วัดบูรพาราม ปี 2559
การปั้นหุ่นองค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ วัดบูรพาราม ปี 2559
การปั้นหุ่นองค์ประกอบเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ วัดบูรพาราม ปี 2559

ที่ตั้ง ชุมชนทำเทียนพรรษาวัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ ชุมชนทำเทียนพรรษาวัดบูรพาราม

15.231938, 104.873730

บรรณานุกรม 

คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมเยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมในการตกแต่งต้นเทียน. (2559). แผนที่เส้นทางเยือนชุมชนคนทำเทียนอุบลราชธานี “เพลินหัตถศิลป์ถิ่นคนทำเทียน” ปี 2559 [แผ่นพับ].

พุทธะ. ทรงขับไล่ธิดาพญามารวัสวดี, วันที่ 11 สิงหาคม 2559. http://www.phuttha.com

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2553). ช่างทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์: นายสุคม เชาวฤทธิ์ วันที่ 11 สิงหาคม 2559. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/candlehandicraft.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง