ปราสาททองหลาง ร่องรอยอารยธรรมขอม

ปราสาททองหลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สถาปัตยกรรมศิลปะเขมรแบบปาปวน อิทธิพลของอาณาจักรขอมในจังหวัดอุบลราชธานี

ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม
ปรางค์ 3 หลัง ของปราสาททองหลาง

ปราสาททองหลาง มีลักษณะเป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐ 3 หลัง ตั้งเรียงบนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีกสององค์ที่ขนาบข้าง มีคูน้ำล้อมรอบ โดยเว้นเป็นช่องทางเข้าด้านตะวันออกด้านเดียวทางทิศตะวันออก ห่างประมาณ 100 เมตร ถัดไปทางทิศตะวันออกมีอ่างเก็บน้ำโบราณ (บาราย) ขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 380 เมตร ยาวประมาณ 420 เมตร ซึ่งยังเห็นขอบคันดินได้ชัดเจน

ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม
ด้านหลังของปราสาททองหลาง
ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม
ตัวปราสาททองหลางก่อด้วยอิฐ
ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม
ศิลาแลงก่อเป็นฐานของปราสาททองเหลือง

จากลักษณะแผนผังและรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานได้ว่า มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบปาปวน (พ.ศ.1550-1620) ร่วมสมัยกับปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ปราสาทแห่งนี้แสดงถึงอิทธิพลอาณาจักรขอมในด้านการเมืองการปกครองและศาสนาที่พบในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกำหนดเขตที่ดิน โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอรที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา

ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงจะผลัดเปลี่ยนเวรกันมาทำความสะอาดทุกวันที่ 15 ของเดือน เพื่อให้โบราณสถานแห่งนี้คงเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงามและน่าเข้าชม

ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม
ร่องรอยการก่อศิลาแลงหน้าปราสาททองหลาง

ปราสาททองหลาง-อารยธรรมขอม

ที่ตั้ง ปราสาททองหลาง

บ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ ปราสาททองหลาง

14.862786, 105.015366

บรรณานุกรม

สมศรี ชัยวณิชยา. (2556). เอกสารประกอบการสอน วิชา 1432 324 ประวัติศาสตร์อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง