วัดเหนือ ชมซุ้มประตูพระราหูสวมนาฬิกา ศิลปกรรมช่างญวน

วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของอำเภอเขมราฐ ภายในวัดมีศาลาพระนอนเป็นงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นฝีมือช่างญวน ซึ่งมีจุดเด่น คือ ซุ้มประตูพระราหูสวมนาฬิกา

ประวัติวัดเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติวัดเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ตามที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 32 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดถนนกงพะเนียง ทิศใต้จดถนนคีรีรัฐ ทิศตะวันออกจดถนนวิศิษฐ์ศรี ทิศตะวันตกจดถนนศรีมงคลา

อาคารเสนาสนะของวัด ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 38 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 กุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้  จํานวน 3 หลัง อาคารคอนกรีต 1 หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธไสยาสน์ ยาว 20 เมตร ประดิษฐานในวิหาร มีพระประธาน 2 องค์ ประดิษฐานในอุโบสถและศาลาการเปรียญ

พระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
พระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

วัดเหนือตั้งเมื่อ พ.ศ. 2330 โดยมีพระเทพวงศา เจ้าเมืองเขมราฐธานีได้ตั้งวัดขึ้นทางทิศตะวันตกของเมืองด้านเหนือน้ำให้นามว่า วัดศรีมงคล ต่อมาทางราชการและชาวบ้าน เรียกว่า วัดเหนือ โดยถือเอาเหนือน้ำเป็นหลัก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระหงษ์ พ.ศ. 2334-2353 รูปที่ 2 พระเผือก พ.ศ.2354-2380 รูปที่ 3 พระทา พ.ศ. 2380-2401 รูปที่ 4 พระป๋อง พ.ศ. 2410-2460 รูปที่ 5 พระเพ็ง พ.ศ. 2461-2466 รูปที่ 6 พระบุตร พ.ศ. 2467-2472 รูปที่ 7 พระเขื่อน ทาหอม พ.ศ. 2474-2479 รูปที่ 8 พระจูม พ.ศ. 2480-2484 รูปที่ 9 พระครูภัทรกิจโกศล พ.ศ. 2484-2506 รูปที่ 10 พระศิลวิสุทธาจารย์ พ.ศ.2506-2554 รูปที่ 11 พระสมุห์สุริวงค์ เตชวโร พ.ศ. 2555-2557 รูปที่ 12 พระเอกดนัย กันตจารี พ.ศ. 2560-

อุโบสถวัดเหนือ อุโบสถหลังเก่าสร้างปี พ.ศ. 2334 สมัยญาครูหงส์เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาอุโบสถได้ทรุดโทรมลง พระขันจะทำการบูรณะใหม่ แต่ไม่มีใครกล้าขึ้น จึงได้พร้อมใจกันเอาขวานฟันเสาทั้ง 4 ลง จนไม้เครื่องบนหักพังลงทั้งหมด จึงได้สร้างอุโบสถหลังเล็ก ๆ ขึ้นพอได้ทำสังฆกรรมจวบจนท่านลาสิกขา ต่อมาปี พ.ศ. 2461 สมัยญาท่านเพ็ง จะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ได้จัดอุปกรณ์ก่อสร้างไว้แล้ว แต่ท่านก็อาพาธและมรณภาพลงก่อน ในปี พ.ศ. 2480 หลวงพ่อจูม ได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็วางรากฐานอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแต่ยังไม่แล้วเสร็จท่านก็มรณภาพลง ปี พ.ศ. 2484 พระครูภัทรกิจโกศล ท่านก็ได้นำญาติโยมก่อสร้างอุโบสถต่อให้แล้วเสร็จและใช้งานมาจนปี พ.ศ. 2536 ก็ได้รื้ออุโบสถลงเหลือไว้แค่แท่นล่าง เพราะไม้เครื่องบนได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก และได้สร้างขึ้นใหม่ดังเห็นในปัจจุบัน

ภายในอุโบสถ มีพระแสงเมือง ที่ได้รับมอบมาจากนายเชาว์ แสงสิงแก้วและคณะญาติ ประดิษฐานในอุโบสถวัดเหนือ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ตรงกับวันมาฆบูชา

อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

ศาลาพระนอน หรือ วิหารพุทธไสยาสน์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

ศาลาพระนอน หรือ วิหารพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยพระอาจารย์เผือกเป็นเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2354 เป็นศาลาทำด้วยไม้ มุงด้วยหญ้าคา จนปี พ.ศ. 2467 สมัยญาท่านบุตรก็ได้พาญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ทำได้ไม้มุงหลังคาด้วยไม้กระดาน และมีช่างชาวญวนมาก่ออิฐถือปูนและแกะสลักลายนูนเป็นรูปราหูกินนาคบนซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก และทิศเหนือ เป็นที่แปลกตาว่าที่ราหูที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกนั้นจะสวมนาฬิกาที่แขนซ้ายด้วย ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกนาค 2 ตัวเอาหางพันกัน และซุ้มหน้าต่างทุกบาน ศาลาพระนอนมีประตู 5 ช่อง หน้าต่าง 9 ช่อง ต่อมาหลายปีก็เปลี่ยนหลังคามามุงด้วยสังกะสี และในปี พ.ศ. 2540 พระศิลวิสุทธาจารย์ได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ให้สวยงามยิ่งขึ้น ดังได้เห็นในปัจจุบัน โดยผนังด้านนอกและเสาด้านในนั้นได้ทำผนังทรายล้างทับผนังเดิม

ซุ้มประตูรูปราหูกินนาค ที่ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ซุ้มประตูรูปราหูกินนาค ที่ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
รูปปั้นสิงห์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
รูปปั้นสิงห์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ช่องลม ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ช่องลม ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ช่องลม ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ช่องลม ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ซุ้มประตู ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ซุ้มประตู ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ประตูและหน้าต่าง ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ประตูและหน้าต่าง ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
รูปปั้นที่ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
รูปปั้นที่ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ซุ้มหน้าต่าง ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ซุ้มหน้าต่าง ศาลาพระนอน วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ ได้สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2521 ช่างปั้นพระนอน คือ นายแสง เป็นคนบ้านนานางวาน ตำบลม่วงใหญ่ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ขณะปั้นรูปพระนอนจากเท้ามาถึงคอ พอถึงเวลาจะปั้นเศียรก็เกิดปัญหาปูนก่อไม่จับกัน จนช่างหมดวิธีเพราะเมื่อก่อขึ้นก็พังลง จึงได้นิมนต์หลวงพ่อหลาวทอง โอสโก หลวงพ่อได้อธิษฐาน และนำพระทองสัมฤทธิ์สูง 9 นิ้ว หน้าตัก 9 นิ้ว ทำพิธีอัญเชิญเทพเทวา จากนั้นช่างก็ก่อสำเร็จและแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2523 ทำพิธีพุทธาภิเษกมหามงคล

พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

พระนอนจำลอง ทำจากหินเขียวจากประเทศอินเดีย โดยพันเอกอนุรุทธ์ อุทัยชีวะ ได้นำมาถวาย ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารพระพุทธไสยาสน์

พระนอนจำลอง วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
พระนอนจำลอง วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

ศาลาการเปรียญ สร้างในปี 2514 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร หลังคามุขทรงไทย

ศาลาการเปรียญ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
ศาลาการเปรียญ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

หอพระศีลวิทธาจารย์ สร้างปี พ.ศ.2554 ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงพระศีลวิทธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสและที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี

หอพระศีลวิทธาจารย์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
หอพระศีลวิทธาจารย์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
พระพุทธรูปในหอพระศีลวิทธาจารย์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
พระพุทธรูปในหอพระศีลวิทธาจารย์ วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
โฮงฮด ที่วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ
โฮงฮด ที่วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ

ที่ตั้ง วัดเหนือ

เลขที่ 2 บ้านท่ากกทัน หมู่ที่ 1 ตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดเหนือ

16.043771, 105.214380947

บรรณานุกรม

พระสมุห์สุริวงค์ เตชวโร (ผู้อำนวยการสร้าง). ประวัติวัดเหนือ. [วีดีทัศน์]

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 2 มีนาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง