การจำแนกเชื้อฮิวแมนปาปิโลมาไวรัสชนิดความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำในรอยโรคแอสคัสจากอาร์ไควาลแป๊บเสมียร์

Titleการจำแนกเชื้อฮิวแมนปาปิโลมาไวรัสชนิดความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำในรอยโรคแอสคัสจากอาร์ไควาลแป๊บเสมียร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsนพนันท์ ลาธุลี
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC น171ก
Keywordsปากมดลูก, ปาปีลโลมาไวรัส, มะเร็งปากมดลูก, สควอมัส อินทราอีพิทีเลียลเลซัน, ฮิวแมนปาปิโลมาไวรัส, เอสไอแอล, เอ็นเอ็มพีซีอาร์, แอสคัส
Abstract

การติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อ HPV ชนิดกลุ่มความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำในเซลล์ผิดปกติแบบคลุมเครือ หรือแอสคัส (Atypical squamous cells of undetermined significant, ASCUS) ตามการรายงานผลเซลล์วิทยาด้วยระบบ Betheada system 2001 โดยเลือกศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย Atypical intermediate type cytoplasm (ATI) 100 ราย Atypical cell in the setting of atrophy (ATA) 98 ราย, Atypical parakeratosis (ATP) 100 ราย Atypical repair (ATR) 100 ราย รวมทั้งหมด 398 ตัวอย่างของสตรีช่วงอายุ 30-65 ปี โดยทำการสกัดและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในหลอดทดลองเพื่อหาเชื้อ HPV ด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) ที่ตำแหน่ง E6 และ E7 oncogene ผลการศึกษาพบว่ามีการติดเชื้อ HPV ทั้งหมดร้อยละ 35.9 (n=143/398) เมื่อแยกแต่ละประเภทพบว่า ASCUS-ATA มีการติดเชื้อมากที่สุดร้อยละ 37.1 (n=53/143) ASCUS-ATR ร้อยละ 32.2 (n=46/143), ASCUS-ATI ร้อยละ 22.4 (n=32/143) และ ASCUS-ATP ร้อยละ 8.3 (n=12/143) เมื่อทำการจำแนกสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำด้วยวิธี NMPCR ใน ASCUS ทั้ง 4 ประเภท พบว่าเชื้อ HPV ใน ASCUS-ATA, ASCUS-ATR และ ASCUS-ATP เป็นเชื้อกลุ่มความเสี่ยงสูงทั้งสิ้นซึ่งสายพันธุ์ที่พบบ่อยคือ HPV 16, 18, 33, 58 ส่วน ASCUS-ATI พบเชื้อความเสี่ยงสูงเพียงร้อยละ 12 และพบเชื้อความเสี่ยงต่ำร้อยละ 88 (HPV 6/11) ซึ่งเป็นเชื้อที่ไม่มีศักยภาพในการชักนำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อ HPV แต่ละสานพันธุ์มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติใน ASCUS แต่ละชนิด ฉะนั้น การจำแนกหาเชื้อ HPV ควบคู่กับการตรวจ Pap smear ในผู้ป่วยที่มีผลเซลล์วิทยาผิดปกติแบบคลุมเครือจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเซลล์แบบ ASCUS-ATA, ASCUS-ATR และ ASCUS-ATP ซึ่งพบเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูงอันเป็นสาเหตุหลักในการชักนำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

Title Alternate Identification of low risk and high risk human papilloma virus in atypical squamous cell of undetermined sidnificant (ascus) from archival papanicolaou smear