การแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งแบบหลายวัตถุประสงค์และหลายลำดับขั้นในโซ่อุปทาน : กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้

Titleการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งแบบหลายวัตถุประสงค์และหลายลำดับขั้นในโซ่อุปทาน : กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsปรุฬห์ มะยะเดี่ยว
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP ป477
Keywordsโรงงาน--สถานที่ตั้ง, โรงงานน้ำมันปาล์ม--การออกแบบและวางผัง
Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งแบบหลายวัตถุประสงค์และหลายลำดับขั้นในโซ่อุปทาน โดยมีผู้ส่งสินค้าอยู่จำนวนหนึ่งจะส่งไปยังตำแหน่งที่จะเปิดเป็นจุดรองรับสินค้าแล้วส่งต่อไปยังลูกค้าของอีกระดับหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐศาสตร์ พิจารณาถึงค่าใช้จ่ายต่ำสุด ด้านสิ่งแวดล้อม พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในการขนส่ง และด้านความปลอดภัยในการก่อวินาศกรรมในเส้นทางการขนส่ง ดังนั้นจึงเป็นปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งแบบหลายวัตถุประสงค์และหลายลำดับขั้น โดยที่ได้พัฒนาตัวแบบผลิตภัณฑ์และแก้ปัญหาด้วยตัวอย่างปัญหากับโปรแกรมสำเร็จรูป LINGO รุ่น 11 สามารถแก้ปัญหาขนาดเล็กและขนาดกลางได้ ส่วนปัญหาขนาดใหญ่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จึงได้มีการออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้ในการแก้ปัญหาสองแบบคือ วิธีการวิวัฒนาการโดยส่วนต่าง (Differential evolution (DE)) ได้ออกแบบการมอบหมายงานและการทดลองเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ F, Cr, POP-Open ที่เหมาะสม ส่วนการปรับวิธีการวิวัฒนาการโดยส่วนต่าง (Modified Differential evolution (MODDE)) ได้ประยุกต์ใช้วิธีการมอบหมายงานแบบใหม่โดยการใช้วิธีการวงกลมรูเล็ต (Roulette Wheel Selection) ในการมอบหมายงานซึ่งจะส่งผลให้ใช้เวลาในการคำนวณน้อยลงและการประยุกต์ใช้วิธีการอัลกอริทึมแบบวิวัฒนาการ (Evolutionary algorithm) ในการปรับค่า POP-Open อย่างอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ได้ค่า POP-Open ที่เหมาะสมสำหรับปัญหาตัวอย่างแต่ละปัญหา
จากผลการทดลองพบว่าวิธีการ (MODDE) ได้คุณภาพของคำตอบที่ดีกว่าวิธีการวิวัฒนาการโดยส่วนต่าง (DE) ซึ่งสามารถพบคำตอบที่เหมาะสม (Optimum Solution) โดยเฉลี่ยเป็นร้อยละ 73.73 กับปัญหาขนาดเล็กและขนาดกลางและเมื่อหาคำตอบที่ปัญหาขนาดใหญ่ก็สามารถพบคำตอบที่ดีที่สุด (Best Solution) ได้ในทุกกรณี เมื่อมาพิจารณาเวลาเฉลี่ยในการหาคำตอบวิธีการวิวัฒนาการโดยส่วนต่าง (DE) ใช้เวลาสั้นกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป LINGO รุ่น 11 ถึงร้อยละ 87.32 และเมื่อเทียบวิธี (MODDE) แบบค่าต่ำสุด (Min) และแบบค่าเฉลี่ย (Average) จะใช้เวลาสั้นกว่าโปรแกรมสำเร็จรูป LINGO รุ่น 11 ถึงร้อยละ 87.981 และร้อยละ 87.597 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาระหว่างวิธีการ (MODDE) แบบค่าต่ำสุด และแบบค่าเฉลี่ย ใช้เวลาสั้นกว่าวิธีการวิวัฒนาการ โดยส่วนต่าง (DE) ถึงร้อยละ 13.726 และร้อยละ 11.983

Title Alternate Solving a multi-stages multi objectives location problem in supply chain : a case study in oil palm industry in specific developed area in deep south of Thailand
Fulltext: