การนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ

Titleการนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsวิโรจน์ เซมรัมย์
Degreeรป.ด (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ว711ก
Keywordsการนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายสาธารณะ, บริการฉุกเฉินของโรงพยาบาล, บริการพยาบาลฉุกเฉิน
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายระบบการบริหารการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ ศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติและหาแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มระดับความสำเร็จของการนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed method) กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ 1)ผู้บริหารหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่สังกัด โรงพยาบาล สถานีอนามัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิและองค์กรเอกชน รวมจำนวน 350 คน 2)ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินปี 2552 จำนวน 5,480 คน และเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน 12 คน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ ได้แก่ 1)ด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ให้บริการได้ภายใน 10 นาที ได้สูงที่สุด 2)ด้านการสนับสนุนเครือข่าย 3)ด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ 4)ด้านการติดต่อสื่อสาร และ 5)ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายตามลำดับ และมีการนำนโยบายการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ โดยรวมค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 เมื่อพิจารณาจากมากไปหาน้อย เป็นรายด้าน พบว่า มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายทรัพยากรของนโยบาย ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่และการสนับสนุนเครือข่ายและหุ้นส่วน ตามลำดับ ส่วนแนวทางอื่น ๆ ที่จะทำให้การนำนโยบายการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง คือ ภาคการเมืองต้องสนับสนุนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

Title Alternate Policy implementation on emergency medical service system
Fulltext: