A method development of capillary electrophoresis for the determination of organic constituents in gun powders

TitleA method development of capillary electrophoresis for the determination of organic constituents in gun powders
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2012
AuthorsWimonsiri Amornchai
DegreeDoctor of Philosophy (Major in Chemistry)
InstitutionFaculty of Science, Ubon Ratchathani University
CityUbon Ratchathani
Call NumberQD W757
KeywordsCapillary electrophoresis, Gunpowder
Abstract

การศึกษาเทคนิค Normal-MEKC ในการแยกสารอินทรีย์ในดินปืน 3 ชนิด ได้แก่ 2,4 ไดไนโตรโทลูอีน (2,4 dinitrotoluene) 2,6 ไดไนโตรโทลูอีน (2,6 dinitrotoluene) และ 3,4 ไดไนโตรโทลูอีน (3,4 dinitrotoluene) โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแยกสาร ได้แก่ ชนิดของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ความเข้มข้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ พีเอช สารลดแรงตึงผิวศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ในการแยก เวลาฉีดสาร เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการแยกสารโดยดูจากลักษณะของพีค และเวลาที่ใช้ในการแยกสาร พบว่า สภาวะที่ให้ผลดีที่สุดในการทดลอง คือ การใช้ fused ?silica capillary 75 ?m i.d. x 64.5 cm (56 cm effective length) 25 mM phosphate buffer และ 75 mM sodium lauryl sulfate ที่ pH 7.5 ศักย์ไฟฟ้า +30 kV อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ตรวจวัดสัญญาณด้วย UV-Visible detector ที่ความยาวคลื่น 200 นาโนเมตร ซึ่งจะใช้เป็นสภาวะเริ่มต้นในการพัฒนาเทคนิคต่อไป
การพัฒนาเทคนิค on-line sample concentration เป็นการพัฒนาเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกสารที่มีความเข้มข้นในระดับต่ำ ๆ ได้ ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาพัฒนา 3 เทคนิค คือ (1) sweeping (2) high salt stacking และ (3) sweeping-high salt stacking โดยเปรียบเทียบลักษณะของพีคและเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ซึ่งให้ผลการทดลองดังนี้
1)เทคนิค sweeping ศึกษาผลของความเข้มข้น phosphate buffer ที่ใช้ในการเจือจางสารตัวอย่างโดยไม่มีสารลดแรงตึงผิว (SDS) ควบคุมค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ของสารตัวอย่างและสารละลายบัฟเฟอร์ให้มีค่าเท่ากัน พบว่าผลที่ดีที่สุดคือ การใช้ 25 mM phosphate buffer เจือจาง 25 เท่า
2)เทคนิค high salt stacking ศึกษาผลของความเข้มข้นโซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, NaCl) ที่ใช้ในการเจือจ่างสารตัวอย่างโดยไม่มีสารลดแรงตึงผิว (SDS) ควบคุมค่าการนำไฟฟ้าของสารตัวอย่างให้สูงกว่าค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายบัฟเฟอร์ 2.5 เท่า พบว่า ผลที่ดีที่สุด คือ การใช้ 150 mM NaCl
3) เทคนิค sweeping-high salt stacking ศึกษาผลของความเข้มข้น phosphate buffer และ NaCl ที่ใช้ในการเจือจางสารตัวอย่างโดยไม่มีสารลดแรงตึงผิว (SDS) ควบคุมค่าการนำไฟฟ้าของสารตัวอย่างและสารละลายบัฟเฟอร์ให้มีค่าเท่ากัน พบว่าผลที่ดีที่สุด คือ การใช้ 25 mM phosphate buffer เจือจ่าง 25 เท่า ผสมกับ 50 mM NaCl
เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการทดลองพบว่าเทคนิคที่ให้ผลการทดลองที่ดีที่สุด คือ high salt stacking ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ในตัวอย่างจริง (ดินปืน) ได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม

Title Alternate การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือแคปิลลารีอิเล็กโทรโฟรีซีส เพื่อวัดปริมาณสารอินทรีย์ในดินปืน
Fulltext: