การพัฒนาเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืช

Titleการพัฒนาเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืช
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsกิตติศักดิ์ อริยะเครือ
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์)
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ก675
Keywordsฝ้าย, เส้นใย, เส้นไหม--การผลิต, ไหม
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตในรูปเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืชโดยทำการทดลองการผลิตแบบหัตถกรรมและแบบอุตสาหกรรมโดยการผลิตแบบหัตถกรรมได้ผลการวิจัยดังนี้ พบว่า เศษรังไหมมีสมบัติทางกายภาพในการผลิตเส้นใยผสมชนิดใหม่ในอัตราส่วนผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยพืชชนิดอื่น จำนวน 5 ชนิด เป็นการผสมทีละชนิด คือ เส้นใยฝ้าย เส้นใยลินิน เส้นใยรามี เส้นใยสับปะรด และเส้นใยกัญชา โดยกระบวนการประกอบด้วยการต้มเศษรังไหมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสด้วยน้ำสบู่ และโซเดียมคาร์บอเนต เวลา 30 นาที นำไปอบแห้งจะได้เศษรังไหมที่มีลักษณะเป็นใยสั้นแล้วนำมาผสมเส้นใยพืชแต่ละชนิด ที่กล่าวมาข้างต้นผสมในอัตราส่วน 50:50 ในเครื่องสางใย (Carding at silk card) และปั่นเส้นใยให้เป็นเส้นด้ายแบบหัตถกรรม (Hand made) โดยใช้เครื่องเข็นด้ายผลิตเส้นด้ายที่ผสมกับเส้นใยพืชทีละชนิดจำนวน 5 ชนิด ด้วยมือ ผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพเส้นด้ายผสมจากเศษรังไหมกับเส้นใยพืชที่กล่าวมา ด้วยการทอแบบหัตถกรรมหรือกี่กระตุกเป็นทั้งเส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืน โดยเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าผืนได้ผลดังนี้ ค่าคงทนต่อแรงฉีกขาด (Breaking Strength) ลำดับที่ 1 คือ ผ้าผืนที่ทอจากเส้นด้ายผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยลินิน ได้ค่าแรง 155 CN/tex ลำดับที่ 2 คือ ผ้าผืนที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยกัญชงได้ค่าแรง 149 CN/tex ลำดับที่ 3 คือผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยฝ้าย ได้ค่าแรง 142 CN/tex ลำดับที่ 4 คือผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยสับปะรดได้ค่าแรง 108 CN/tex ลำดับที่ 5 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยรามีได้ค่าแรง 103 CN/tex และค่าเฉลี่ยการยืดตัว (Mean Elongation) ลำดับที่ 1 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยลินิน 2.00 เซนติเมตร ลำดับที่ 2 คือผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยสับปะรด 2.50 เซนติเมตร และผืนผ้าทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยรามี 2.50 เซนติเมตร ลำดับที่ 3 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเส้นใยจากเศษรังไหมกับ ใยกัญชา 2.60 เซนติเมตร และผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเส้นใยจากเศษรังไหมกับเส้นใยฝ้าย 2.60 เซนติเมตร จากผลการวิจัยพบว่า ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมชนิดใหม่และใยพืช 5 ชนิด ที่กล่าวมา มีศักยภาพนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทเคหะสิ่งทอผืนผ้าที่ทอด้วยเส้นใยจากเศษรังไหมกับใยกัญชง และผืนผ้าที่ทอด้วยเส้นใยจากเศษรังไหมกับใยสับปะรด เพราะมีความคงทนต่อแรงฉีกขาดและขัดถูมากกว่าเส้นใยอื่น
ผลการทดลองกระบวนการผลิตในรูปแบบเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืช โดยทำการทดลองการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่งได้ผลดังนี้ ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า เศษรังไหมมีสมบัติทางกายภาพในการผลิตเส้นไหมผสมชนิดใหม่ในอัตราส่วนผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยพืช 5 ชนิด คือ เส้นใยฝ้าย ลินิน สับปะรด รามี และกัญชง โดยกระบวนการประกอบด้วยการต้มเศษรังไหมอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสด้วยน้ำสบู่เทียมและโซเดียมคาร์บอเนต เวลา 30 นาที นำไปอบแห้งจะได้ใยจากเศษรังไหมที่มีลักษณะเป็นใยสั้นแล้วนำมาผสมเส้นใยแต่ละชนิดที่กล่าวมาข้างต้นผสมในอัตราส่วน 50:50 ในเครื่องสางใย (Carding at Silk Card) และปั่นเป็นเส้นใยผสมด้วยระบบอุตสาหกรรม (Mixing and Spinning) ผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมด้วยการทอเป็นเส้นด้ายยืนและเส้นใยพืช 5 ชนิด เป็นเส้นด้ายพุ่ง ทอด้วยระบบอุตสาหกรรม ได้ผลดังนี้ ค่าคงทนต่อแรงฉีกขาด (Breaking Strength) ลำดับที่ 1 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับใยกัญชง ค่าแรง 194 CN/tex ลำดับที่ 2 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับรามี ค่าแรง 149 CN/tex ลำดับที่ 3 คือเส้นใยจากเศษรังไหมกับลินิน ค่าแรง 146 CN/tex ลำดับที่ 4 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับสับปะรด ค่าแรง 145 CN/tex และลำดับที่ 5 คือ เส้นใยผสมจากเศษรังไหมกับฝ้าย ค่าแรง 143 CN/tex ค่าเฉลี่ยการยืดตัว (Mean Elongation) ลำดับที่ 1 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับใยกัญชง 2.30 เซนติเมตร ลำดับที่ 2 คือ เส้นใยผสมจากเศษรังไหมกับฝ้าย 2.32 เซนติเมตร ลำดับที่ 3 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับรามี 2.77 เซนติเมตร ลำดับที่ 4 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับลินิน 3.42 เซนติเมตร และลำดับที่ 5 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมผสมกับเส้นใยสับปะรดกับลินิน 3.42 เซนติเมตร และลำดับที่ 5 คือ เส้นใยจากเศษรังไหมผสมกับเส้นใยสับปะรด 3.43 เซนติเมตร จากผลการวิจัยพบว่า ผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและในพืช 5 ชนิด มีศักยภาพนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทเคหะสิ่งทอ คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับกัญชงเพราะทนต่อแรงฉีกขาด และเส้นใยผสมที่เหมาะสำหรับเป็นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย คือ เส้นใยจากเศษรังไหมกับเส้นใยสับปะรด

Title Alternate The development of new mixed fiber from waste cocoon and other plant fibers
Fulltext: