ความคงทนของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าต่อคาร์บอเนชั่น

Titleความคงทนของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าต่อคาร์บอเนชั่น
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsคำผล ทองสมุท
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA ค364
Keywordsความคงทนของคอนกรีต, คอนกรีต, คอนกรีตน้ำหนักเบา
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้ เสนอเป็นปัจจัยของความหนาแน่น สูตรผสม วิธีการบ่ม สภาพแวดล้อมโดยรอบและปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อความลึกคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า กำลังรับแรงอัด ผลของคาร์บอเนชั่นต่อกำลังอัด และการหดตัวเนื่องจากคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าโดยใช้ตัวอย่างคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่ใช้สำหรับงานโครงสร้าง ที่มีค่าความหนาแน่นเปียก 1600 และ 1800 กก./ลบ.ม. ใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.45 0.50 และ 0.55 และอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เท่ากับ 1:1 และ 2:1 ในอากาศ การบ่มชื้นในห้องควบคุม และการบ่มเปียกโดยการแช่น้ำ 28 วันก่อนทำการศึกษาตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งในการทดสอบกระทำอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของอุณหภูมิความชื้นสัมพันธ์และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันอยู่ 3 แบบ คือ 1) สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ 2) สภาพแวดล้อมในห้องควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ โดยมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 โดยปริมาตร (ใช้ในการทดสอบแบบไม่เร่งปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น) และ 3) สภาพแวดล้อมในห้องควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ โดยมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 โดยปริมาตร (ใช้ในการทดสอบแบบเร่งปฏิกิริยาคาร์บอเรชั่น) จากผลการศึกษา พบว่า ความลึกของการเกิดคาร์บอเนชั่น กำลังรับแรงอัด และการหดตัวคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า ไม่ขึ้นอยู่กับค่าความหนาแน่นของคอนกรีตที่เท่ากัน ค่าความลึกของการเกิดคาร์บอเนชั่นในคอนกรีตจะมีค่าสูงขึ้น และกำลังรับแรงอัดจะลดลงเมื่อเพิ่มอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์ในส่วนผสม หรือเมื่อเพิ่มอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ในส่วนผสม แต่ค่าการหดตัวคาร์บอเนชั่นในคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าไม่ได้แปรผันไปตามอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ และอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์ในส่วนผสม จากผลการศึกษายังพบอีกว่า คอนกรีตที่ผ่านกระบวนการบ่มเปียกโดยการแช่น้ำ มีความลึกคาร์บอเนชั่นต่ำที่สุด และมีกำลังรับแรงอัดสูงที่สุด และคอนกรีตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในห้องปฏิบัติการมีค่าความลึกคาร์บอเนชั่นต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมอื่น ท้ายที่สุดยังพบว่า หากความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่โดยรอบคอนกรีตมีค่าสูงขึ้น จะส่งผลให้ความลึกคาร์บอเนชั่นของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า มีค่ามากขึ้นและจะทำให้คอนกรีตมีกำลังรับแรงอัดสูงขึ้น แต่จะไม่ส่งผลต่อการหดตัวคาร์บอเนชั่นของคอนกรีต

Title Alternate Durability of cellular light weight concrete to carbonation
Fulltext: