การศึกษาคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน บ้านโนนดู่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

Titleการศึกษาคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน บ้านโนนดู่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsกรรณิกา จันทชิด
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ก172ก
Keywordsคุณภาพน้ำ--อุบลราชธานี, น้ำประปา--การผลิต, น้ำประปา--อุบลราชธานี, ประปาชนบท--การจัดการ--อุบลราชธานี
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสภาพการใช้น้ำและคุณภาพน้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน บ้านโนนดู่ หมู่ 5 ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรในหมู่บ้าน จำนวน 202 คน ผลการศึกษาการเก็บข้อมูลสภาพสภาพการใช้น้ำจากแบบสอบถามด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิในเขตพื้นที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอาชีพเกษตรกร สุขภาพดี ปริมาณการใช้น้ำต่อวัน 1-5 ลิตร และประชากรดื่มน้ำจากท่อระบบประปาโดยตรงปราศจากการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนดื่มร้อยละ 63.45 โดยประชากรเชื่อว่าน้ำจากระบบประปาไม่สะอาดเพียงพอที่จะนำมาบริโภคมากกว่าร้อยละ 90 ผลกระทบจากการดื่มน้ำประปาที่ไม่สะอาด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคท้องร่วง อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ปวดท้อง ระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 32.23 รองลงมา เป็นโรคนิ่ว ร้อยละ 31.73 ส่วนความคาดหวังของประชากรต่อการใช้น้ำประปา พบว่า ส่วนมากมีความคาดหวัง ระดับปานกลางในการใช้น้ำที่สะอาดเพียงพอต่อการดื่ม ร้อยละ 46.21 ความคาดหวังจะมีน้ำใช้ในราคาถูก ร้อยละ 21.21 และประชาชนมีความพึงพอใจน้อยต่อคุณภาพน้ำที่ใช้สำหรับคุณภาพน้ำจากระบบประปา พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.7-8.2 ความขุ่น 2.8-6.2 NTU ค่าคลอไรด์ 74.78-83.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์มมีค่าน้อยกว่า 2 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร ในขณะที่ปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายในน้ำมีค่า 1,030-1097 มิลลิกรัมต่อลิตร และความกระด้าง 630-687 มิลลิกรัมต่อลิตร (ในรูปCaCO3) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนนำไปใช้บริโภคต่อไป

Title Alternate Study of villagewater supply quality of Ban Non Do, Mueang District, Amnat Charoen Province
Fulltext: