ความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเยี่ยมบ้านของสหวิชาชีพ กรณีศึกษาหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จังหวัดยโสธร

Titleความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเยี่ยมบ้านของสหวิชาชีพ กรณีศึกษาหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จังหวัดยโสธร
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsอุษณีพร วิรุฬห์วาณิช
Degreeเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA อ863ค
Keywordsการรักษาเบาหวาน, การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย, ผู้ป่วยเบาหวาน, เบาหวาน--ผู้ป่วย--ไทย--ยโสธร
Abstract

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยเเนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาร่วมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายนอกจากนี้ยังมีเเนวทางการรักษาเเบบอื่นๆ เช่น การเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เเต่ยังพบว่าผู้ป่วยบางส่วนยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ต่อการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 23 คน ที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จังหวัดยโสธร โดยใช้วิธีวิทยาคิว (Q methodology) เป็นการวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า ความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถจัดกลุ่มความคิดเห็นออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.ความต้องการในด้านความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตนเบื้องต้น ขณะเกิดอาการข้างเคียงแบบเฉียบพลัน ได้แก่ อาการมือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลบาดแผลด้วยตนเอง
2.ความต้องการในด้านข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาเบาหวาน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระหว่างคนในชุมชน
3. ความต้องการในด้านคำแนะนำเรื่องอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ รวมถึงการรับประทานอาหารในกรณีที่ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ
การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดต่อการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานให้ได้ตรงกับลักษณะความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมในแต่ละกลุ่มมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีการศึกษาวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับการนำแนวทางจากการวิจัยในครั้งนี้ไปปฏิบัติจริงกับผู้ป่วยเบาหวานก็อาจทำให้ได้แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

URLhttp://medias.lib.ubu.ac.th/medias/pdf/fulltext1/ethesis/Usaneepon_Vi/abstract.pdf
Title Alternate Diabetic patients' preferences on home health care by multi-professional team : a case study of primary care unit at Dr. Hann Hospital, Yasothon