ลักษณะทางพันธุกรรมของปลาหมู 5 ชนิด สกุล Yasuhikotakia ในประเทศไทย : ประเด็นเพื่อการอนุรักษ์

Titleลักษณะทางพันธุกรรมของปลาหมู 5 ชนิด สกุล Yasuhikotakia ในประเทศไทย : ประเด็นเพื่อการอนุรักษ์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsอัธยา อรรถอินทรีย์
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQL อ542
Keywordsปลาหมู, พันธุกรรม
Abstract

การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมปลาหมูสกุล Yasuhikotakia 5 ชนิด คือ ปลาหมูอารีย์ (Y. sidthimunki) ปลาหมูน่าน (Y.nigrolineata) ปลาหมูปลาหมูคอก (Y.morleti) ปลาหมูขาว (Y.modesta) และปลาหมูสัก (Y.lecontei) โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการ และเทคนิค Amplified Fragment Length Polymorphism (AFLP) พบว่า การจัดกลุ่มปลาหมูโดยใช้ข้อมูลสัณฐานวิทยาเชิงปริมาณ ทำให้สามารถแยกปลาหมูออกเป็น 2 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มโดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ลักษณะสีสันและลวดลายบนลำตัว ทำให้มีการแบ่งกลุ่มปลาหมูออกเป็น 2 กลุ่ม เช่นกัน แต่การจัดกลุ่มไสอดคล้องกับการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณข้างต้น การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยเทคนิค AFLP โดยไพรเมอร์ 5 คู่ พบว่า สามารถแยกปลาหมูออกเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ และสอดคล้องกับการทำอนุกรมวิธาน ปลาหมูที่มีมาก่อนหน้านี้ การใช้เทคนิค AFLP ดังกล่าว ทำให้ได้แถบดีเอ็นเอ 278 แถบ มีค่าร้อยละโพลิมอร์ฟิก และค่าเฉลี่ยเฮตเทอโรไซโกตีภายในชนิดเท่ากับร้อยละ 7.55 ? 25.18 และ 0.025-0.09 ตามลำดับ พบแถบดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อชนิดพันธุ์ทั้งหมด 56 แถบ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอในการบ่งชี้ชนิดพันธุ์ต่อไปในอนาคต ผลจากการวิจัยสรุปว่า เทคนิค AFLP สามารถใช้ศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรม และบอกความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างชนิดปลาหมูได้ รวมทั้งแสดงให้เห็นว่า ปลาหมูทั้ง 5 ชนิดที่ศึกษามีความแปรปรวนทางพันธุกรรมภายในชนิดที่ระดับแตกต่างกัน ปลาหมูบางชนิดในสกุล Yasuhikotakia มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต่ำมาก และเป็นไปได้ว่าจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนอนุรักษ์ทรัพยากรปลาหมูของไทย

Title Alternate Genetic characters of five Yasuhikotakia spp. in Thailand: conservation perspective
Fulltext: