การเพิ่มผลผลิตในงานก่อสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักเออร์กอนอมิคส์ : กรณีศึกษาการดัดเหล็กปลอกเสริมคอนกรีต

Titleการเพิ่มผลผลิตในงานก่อสร้างโดยการประยุกต์ใช้หลักเออร์กอนอมิคส์ : กรณีศึกษาการดัดเหล็กปลอกเสริมคอนกรีต
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsอรรถพล จันดาคูณ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA อ357
Keywordsคอนกรีตเสริมเหล็ก, คอนกรีตเสริมเหล็ก--การออกแบบและการสร้าง, คานคอนกรีต--การออกแบบ, เออร์โกโนมิกส์
Abstract

ปัญหาสุขภาพของคนงานก่อสร้างในเรื่องการเจ็บป่วย ความเมื่อยล้าและความเครียดจากการทำงานเกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอนของการทำงาน แต่ผู้ปฏิบัติงานมักไม่คำนึงถึงสภาวะที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย หรือบางครั้งต้องจำทนกับงานที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย โดยไม่พูดหรือบ่นให้นายจ้างหรือผู้บริหารได้รับรู้ ความเครียดที่ไม่เปิดเผยของผู้ปฏิบัติงานนี้จะแสดงออกมาในรูปของการเกิดปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อผลิตภาพของงานก่อสร้างโดยตรง ในการวิจัยนี้จะพิจารณาในส่วนของการทำงานดัดเหล็กปลอกโดยจะจัดสร้างเครื่องมือสำหรับดัดเหล็กปลอกที่ถูกต้องตามหลักเออร์คอนอมิคส์ เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้างโดยได้เก็บและบันทึกข้อมูลจากหน้างานจริง นำมาเปรียบเทียบระหว่างวิธีปฏิบัติแบบเดิมกับการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น จากการศึกษาพบว่า การประเมินท่าทางการทำงานโดยใช้แบบประเมินวิธี RULA การใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในการทำงานดัดเหล็กปลอกทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลงจากการใช้วิธีปฏิบัติแบบเดิม อีกทั้งผลิตภาพที่เกิดขึ้นในลักษณะของเวลา เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจะให้ผลิตภาพที่ดีกว่าวิธีปฏิบัติแบบเดิม 27-36% เนื่องจากมีท่าทางการทำงานที่เหมาะสมมากขึ้นใช้แรงจากกล้ามเนื้อน้อยลง ทำงานได้สบายขึ้น ไม่เกิดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดัดเหล็กลงได้ 27-42% เมื่อเทียบกับวิธีปฏิบัติแบบเดิม โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยในการทำงาน เช่น ขนาดของเหล็กปลอก หน้าตัดของเหล็กปลอก ทักษะและความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน

Title Alternate Constuction productivity improvement using ergonomics: a case study of stirrup reinforcement bar bending
Fulltext: