ศักยภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างแนวโน้มและผลกระทบ

Titleศักยภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างแนวโน้มและผลกระทบ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2542
Authorsณรงค์ สามารถ, นพมาศ นามแดง, รักเกียรติ แสนประเสริฐ, ประสิทธิ์ กาญจนา, ทองดี สีสันต์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD9161.T52 ณ214
Keywordsยางพารา--การผลิต--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ยางพารา--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)--แง่เศรษฐกิจ\
Abstract

การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพทางสังคม สภาพการปลูกยางพารา ตลอดจนผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีต่อศักยภาพการปลูกยางพาราของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผลการศึกษษพบว่า หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรสวนยางพาราส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การศึกษาส่วนใหญ่จบชั้น ป.1-ป.6 เกษตรกรส่วนใหญ่กรีดยางด้วยตนเอง ร้อยละ 79.75 มีจักรรีดยางและโรงอบยางเป็นของตนเอง ร้อยละ 14.50 และ 12.75 ตามลำดับ เกษตรการรับการสังเคราะห์การปลูกสร้างสวยยางจาก สกย. เพียงอย่างเดียว ร้อยละ 57.96 ตัดสินใจปลูกยางเพราะเห็นว่าราชการมาส่งเสริมและมีเงินช่วยเหลือ ร้อยละ 45.61 การรับข่าวสารความรู้ส่วนใหญ่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ สกย. ร้อยละ 87.82 พันธุ์ยางที่ปลูกคือพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 85.79 อายุในการเปิดกรีดยาง เฉลี่ย 7.43 ปี ระบบกรีดยางกริดครึ่งต้นวันเว้นวัน ร้อยละ 47.50 ผลกระทบทางสังคม ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานในช่วงการกรีดยาง ก่อให้เกิดการจ้างงาน ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดรายได้มากกว่าการผลิตพืชหลาย ๆ อย่าง และสามารถยกระดับผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้อรก จากผลการวิจัยผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 180 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ข้อมูลของ สกย. ประเมินไว้ที่ 235 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

Title Alternate Potential of Para rubber production in the lower the north-eastern region : trends and effects
Fulltext: