การพัฒนาชุดการทดลองโดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ เรื่องการไทเทรตกรด-เบส

Titleการพัฒนาชุดการทดลองโดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ เรื่องการไทเทรตกรด-เบส
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsภัทราวรรณ ศุภเลิศ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ภ378 2562
Keywordsกรด-เบส, การพัฒนาชุดการทดลอง, การสอนวิชาเคมี, การสอนวิทยาศาสตร์, การไตเตรท -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ความเข้าใจมโนมติ
Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มุ่งพัฒนาชุดทดลองสาธิตในวิชาเคมีโดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษ สร้างโดยเคลือบแว็กซ์ที่ใช้เป็นสารไม่ชอบน้ำบนกระดาษเพื่อสร้างช่องรองรับการเกิดปฏิกิริยา และมีการนำแอนโทไซยานินที่สกัดจากดอกฟ้าประทานพรมาใช้ในการเป็นอินดิเคเตอร์ในการไทเทรตกรด-เบส ชุดการทดลองนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ราคาถูก ใช้สารเคมีน้อยในระดับไมโครลิตร ใช้งานง่าย และพกพาสะดวก ตามหลักการ “เคมีสีเขียว” ชุดทดลองดังกล่าวสามารถใช้ระบุจุดยุติของการไทเทรตได้ด้วยการสังเกตการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ ชุดการทดลองที่พัฒนาขึ้นนี้ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการไทเทรตกรด-เบสแบบดั้งเดิม จากนั้น ผู้วิจัยได้นำชุดการทดลองนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ เรื่อง การไทเทรตกรด-เบส กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบวัดความเข้าใขมโนมติ เรื่อง การไทเทรตกรด-เบส แบบวินิจฉัยสองลำดับขั้น จำนวน 10 ข้อ จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (mean 21.93, S.D.4.27, 73.10%) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 8.21, S.D.4.17, 27.36%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังเรียนมีร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติถูกต้องสมบูรณ์ (GU) ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) ถูกต้องบางส่วนและผิดบางส่วน (PMU) ผิด (MU) ไม่มีความเข้าใจมโนมติ (NU) และไม่มีคำตอบ (NR) เป็น 37.93, 40.00, 11.03, 2.41, 4.83 และ 3.79 ตามลำดับ และมีความก้าวหน้าทางการเรียนแบบปกติอยู่ระดับปานกลาง (=0.63) แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการทดลองโดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษเพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ เรื่อง การไทเทรตกรด-เบส สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติในเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Title Alternate Development of experimental kit based on microfluidic paper-based analytical device to enhance conceptual understanding of acid-base titration