การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsอภิญญา แก้วใส
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQH อ253ก 2560
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การเรียนแบบมีส่วนร่วม, กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 อี, ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เซลล์ -- การศึกษาและการสอน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 3) ความคงทนของความรู้และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมัธยมยางสีสุราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 31 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และทดสอบความคงทนของความรู้ เมื่อการทดสอบหลังเรียนผ่านไป แล้ว 15 วัน จากการศึกษาผลพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 41.69 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำ แต่หลังจากการพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 82.58 อยู่ในระดับดีเยี่ยม และมีความแตกต่างจากผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนพบว่าอยู่ในระดับ 0.70 ซึ่ง อยู่ในเกณฑ์สูง การทดสอบความคงทนของความรู้เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 15 วัน พบว่าค่าความคงทน ของความรู้อยู่ที่ร้อยละ 81.85 ไม่แตกต่างทางสถิติจากการทดสอบหลังเรียนที่ระดับนัยสำคัญ .05

Title Alternate Development of achievement of cell of organisms for grade 10 students using 5E inquiry learning and cooperative learning
Fulltext: