การถ่ายทอดยีน Bph3 ควบคุมลักษณะต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าสู่สายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

Titleการถ่ายทอดยีน Bph3 ควบคุมลักษณะต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าสู่สายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsศักดิ์ดา คงสีลา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ศ321ก 2560
Keywordsการปรับปรุงพันธุ์ข้าว, ข้าว -- การปรับปรุงพันธุ์, ข้าว -- ความต้านทานโรคไหม้, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้าหอมทนน้ำท่วมฉับพลัน Jasmine IR57514 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกสายพันธุ์ UBN03078-101-342-4-141 เป็นสายพันธุ์ให้ยีนต้านทานเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล Bph3 และสายพันธุ์ Jasmine IR57514 เป็นสายพันธุ์รับที่มียีน Sub1 (ลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน), badh2 (ความหอม), Wxb (ปริมาณอะไมโลสต่ำ) และ SSIIa-TT (อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ) พัฒนาประชากร F1 และยืนยันลูกผสมด้วยเครื่องหมาย RM586 ที่เชื่อมโยงกับยีน Bph3 ได้จำนวน 88 ต้น นำต้น F1 เหล่านี้ผสมกลับไปยัง Jasmine IR57514 ได้ประชากร BC1F1 จำนวน 339 ต้น จากนั้นใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกยีนควบคุมลักษณะเป้าหมาย ได้แก่ RM586, SSR24 และ RM589 (Bph3), R10783indel (Sub1), Aromaker (badh2), Waxy (Wxb ) และ SNP2340-41 (SSIIa-TT) ได้ต้นที่มียีนควบคุมลักษณะเป้าหมายทั้ง 5 ลักษณะ จำนวน 157 ต้น นำ BC1F1 จำนวน 34 ต้น ผสมกลับไปยัง Jasmine IR57514 ได้ประชากร BC2F1 จำนวน 228 ต้น คัดเลือกจีโนไทป์โดยใช้ MAS ได้จำนวน 30 ต้น ปล่อยให้ผสมตัวเองสร้าง BC2F2 ได้จำนวน 5,000 เมล็ด จากนั้นแบ่งเมล็ดออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 และ 2 นำ BC2F2 จำนวน 258 และ 192 ต้น นำไปปลูกในกระถาง ทำการคัดเลือกจีโนไทป์โดยใช้ MAS ได้ต้น BC2F2 ที่มียีนควบคุมลักษณะเป้าหมายเป็นสายพันธุ์แท้ทั้ง 5 ลักษณะ จำนวน 20 และ 30 สายพันธุ์ตามลำดับ ส่วนที่ 3 นำ BC2F2 จำนวน 4,230 ต้น ปลูกในแปลงทดลอง ทำการคัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดีจากนั้นนำไปคัดเลือกลักษณะเป้าหมาย โดยใช้ MAS ได้ต้น BC2F2 ที่มียีนควบคุมลักษณะเป้าหมายเป็นสายพันธุ์แท้ทั้ง 5 ลักษณะ จำนวน 19 สายพันธุ์นำเมล็ด BC2F3 ทั้งหมดรวม จำนวน 69 สายพันธุ์ มาปลูกในแปลงทดลองและคัดเลือก
ลักษณะทรงต้นที่ดีได้จำนวน 24 สายพันธุ์ จากนั้นปล่อยให้ผสมตัวเองเพื่อสร้างเมล็ด BC2F4 และนำไปยืนยันประสิทธิภาพเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกในลักษณะต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ลักษณะความหอม ลักษณะปริมาณอะไมโลสต่ำ และลักษณะ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ จากการประเมินความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง ทั้ง 24 สายพันธุ์โดยใช้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอุบลราชธานี พบว่า สายพันธุ์ปรับปรุงมีความต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระดับปานกลาง (MR) จนถึงระดับต้านทาน (R) ผลการประเมินความสามารถทนน้ำท่วมฉับพลันเบื้องต้น พบว่า สายพันธุ์ปรับปรุงทั้ง 24 สายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต (80.0) เปอร์เซ็นต์การยืดตัว (11.9) และเปอร์เซ็นต์การฟื้นตัวหลังน้ำลด (3.5) ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.01) กับสายพันธุ์รับ (73.75, 10.89 และ 2.57 เปอร์เซ็นต์ตามล้าดับ) ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงทุกสายพันธุ์มีความหอม มีปริมาณอะไมโลสต่ำ (15.18-17.05 เปอร์เซ็นต์) และมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ (ASV=6-7) ไม่ แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับสายพันธุ์รับ Jasmine IR57514 ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงดีเด่นเหล่านี้จะ น้าไปปลูกให้มีความคงตัวทางพันธุกรรม และนำไปทดสอบผลผลิตในระดับสถานีระหว่างสถานีและแปลงเกษตรกรต่อไป

Title Alternate Introgression of brown planthopper resistance gene, Bph3, Into Jasmin IR57514 rice line through marker-assisted backcross breeding
Fulltext: