การศึกษาวิเคราะห์ "ศาสตรากระบวนทาย" จากราชอาณาจักรกัมพูชา

Titleการศึกษาวิเคราะห์ "ศาสตรากระบวนทาย" จากราชอาณาจักรกัมพูชา
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsสุวชัญ ชาญเชี่ยว
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberBF ส869ก 2557
Keywordsการเสี่ยงทาย, พยากรณ์, วรรณกรรม, ศาสตรากระบวนทายฐ กัมพูชา, หมอดู--กัมพูชา
Abstract

วิทยานิพนธ์เล่นนี้มุ่งศึกษาลักษณะของวรรณกรรมศาสตรากระบวนทาย ทั้งในด้านรูปแบบเนื้อหาและหน้าที่ทางสังคม โดยใช้การศึกษาวิเคราะห์โดยตรงจากวรรณกรรมศาสตรากระบวนทายจำนวน 7 ตัวบท จากราชอาณาจักรกัมพูชาและใช้การสัมภาษณ์วิทยากร ตลอดจนศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยด้านรูปแบบของศาสตรากระบวนทาย ศาสตรากระบวนทายเป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำนายโชควาสนาของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ โดยมีองค์ประกอบในการเสี่ยงทายอยู่ 5 ประการ คือ สถานที่เสี่ยงทาย หมอศาสตรากระบวนทาย ศาสตรากระบวนทาย ผู้เสี่ยงทายและวิธีการเสี่ยงทาย
รูปแบบของศาสตรากระบวนทาย จำแนกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนที่ 1 เป็นเรื่องราวที่อ้างอิงเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของตัวละครจากนิทานชาดก นิทานธรรมบท พุทธประวัติ นิทานที่อ้างมาจากพระพุทธศาสนาในแหล่งที่มาอื่น ๆ และนิทานที่มาจากแหล่งที่มาอื่น ๆ ได้แก่ วรรณคดีในศาสนาพราหมณ์ และนิทานพื้นบ้าน ขึ้นต้นว่า “นี้กาล” “กาล” “ถูกต้อง” และไม่มีคำขึ้นต้น และ 2) ส่วนที่ 2 เป็นคำทำนาย ขึ้นต้นว่า “ทำนายทายว่า” “ทำนายว่า” หรือ “ทายว่า” แล้วตามด้วยภาพรวมของดวงชะตาว่า ดี หรือ ไม่ดี แล้วจึงแจกแจงรายละเอียดเป็นเรื่อง ๆ
ผลการวิจัยด้านเนื้อหาของศาสตรากระบวนทาย ในส่วนของแหล่งที่มาของนิทานที่อ้างถึงในศาสตรากระบวนทาย พบว่า นิทานที่ศาสตรากระบวนทายนำมาอ้างอิงประกอบคำทำนายมี 3 แหล่ง ได้แก่ 1) เนื้อหาที่อ้างมาจากวรรณคดีในพระพุทธศาสนา 2) เนื้อหาที่อ้างมาจากนิทานในแหล่งที่มาอื่น ๆ ได้แก่ 2.1) เนื้อหาที่อ้างมาจากวรรณคดีในศาสนาพราหมณ์ 2.2) เนื้อหาที่อ้างมาจากนิทานพื้นบ้าน และ 3) เนื้อหาที่ปรากฏแหล่งที่มาไม่ชัดเจน กล่าวคือ ไม่สามารถระบุเหตุการณ์หรือตัวละครในเรื่องได้
ผลการศึกษาด้านหน้าที่ทางสังคมที่ปรากฏในศาสตรากระบวนทาย พบว่า ศาสตรากระบวนทายมีหน้าที่ทางสังคม 3 ประการ ได้แก่ 1) ช่วยเหลือคนในสังคมให้คล้ายความคับข้องใจ โดยพิจารณาจากคำทำนายส่วนใหญ่เป็นคำทำนายที่ดี เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้เสี่ยงทาย 2) ช่วยขัดเกลาพฤติกรรมของคนในสังคม โดยศาสตรากระบวนทายได้หยิบยกเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของตัวละครในนิทานจากแหล่งที่มาต่าง ๆ เพื่อแสดงอานิสงส์ของการประพฤติตนที่เหมาะสมไว้เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต และแสดงโทษของการประพฤติตนไม่เหมาะสมไว้ป้องปรามมิให้มีการกระทำที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในสังคม สามารถจำแนกการขัดเกลาพฤติกรรมของคนในสังคมผ่านคำสอน 2 ประการ ได้แก่ 1) สอนโดยตรง (พบเป็นจำนวนน้อย) ปรากฏในส่วนของคำทำนาย และ 2) คำสอนโดยอ้อม (พบเป็นจำนวนมาก) ปรากฏในส่วนของเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมจองตัวละครในนิทาน และ 3) ให้ความรู้และสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยศาสตรากระบวนทายทำให้คนเขมรได้รับรู้เรื่องราวหรือเหตุการณต่าง ๆ จากพระธรรมบทและนิบาตชาดกทางพระพุทธศาสนาที่นำมาแสดงไว้อย่างย่นย่อ ทำให้นิทานเหล่านี้ดำรงอยู่ในสังคม ถือเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่ง

Title Alternate An analytical study of "prophetic sastras" from the Kingdom of Cambodia