คุณสมบัติการกำบังรังสีแกมมาของแก้วในระบบ P2O5-BaO-Bi2O3

Titleคุณสมบัติการกำบังรังสีแกมมาของแก้วในระบบ P2O5-BaO-Bi2O3
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsสรินทรเทพ สายเนตร
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาฟิสิกส์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC ส356ค 2557
Keywordsความเร็วคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค, คุณสมบัติการกำบัง, รังสีวิทยา, รังสีแกมมา, แก้วฟอสเฟต
Abstract

การสร้างแก้วในระบบ (50)P2O5-(50-x)BaO – (x)Bi2O3 ที่ x=0, 2.5, 7.5, 12.5 และ 17.5 เปอร์เซ็นต์โดยโมล โดยใช้เทคนิคการหลอมที่อุณหภูมิสูงและเย็นตัวอย่างรวดเร็ว แก้วตัวอย่างถูกศึกษาด้วยการวัดความเร็วคลื่นเสียงอัลตร้าโวนิคตามยาว และเฉือน ที่ความถี่ 4 เมกกะเฮิร์ทโดยใช้เทคนิคพัลส์เอคโค และการหาความหนาแน่นของแก้วโดยใช้หลักการของอาร์คีมีดีสและใช้เอ็นเฮ็กเซนเป็นของเหลว ค่าดังกล่าวนำมาคำนวณหาค่าคุณสมบัติเชิงกลของแก้ว คือ โมดูลัสตามยาว โมดูลัสเฉือน ยังโมดูลัส โมดูลัสเชิงปริมาตร และค่าความแข็งระดับไมโคร พบว่า เมื่อปริมาณ Bi2O3 17.50 เปอร์เซนต์โดยโมล มีค่าความยืดหยุ่นโมดูลัสสูงกว่าที่ Bi2O3 0.00 เปอร์เซ็นต์โดยโมล ค่าความแข็งระดับไมโครของแก้วในระบบที่ปริมาณ Bi2O3 12.50 เปอร์เซ็นต์โดยโมลมีค่าสูงสุด ผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ศึกษาด้วยฟูเรียทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรมิเตอร์ มีการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติยืดหยุ่นจากการทดสอบคุณสมบัติทางรังสีโดยใช้โปรแกรม WinXcom และต้นกำเนิดรังสีที่พลังงาน 122, 662 และ 1173 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์และเปรียบเทียบกับคอนกรีตมาตรฐาน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงเส้น และสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณ Bi2O3 ค่า HVL มีค่าลงตามปริมาณ Bi2O3 ที่เพิ่มขึ้นสูตรแก้วในระบบที่มีคุณสมบัติกำบังรังสีและความยืดหยุ่นที่เหมาะสม คือ (50)P2O5-(32.50)BaO-(17.50)Bi2O3 ซึ่งมีค่า HVL ดีกว่าคอนกรีตมาตรฐานประมาณ 2 เท่า

Title Alternate Gamma-ray shielding properties of P2O5-BaO-Bi2O3 glass system