การศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของสารสกัดหอมแดง

Titleการศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของสารสกัดหอมแดง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2557
Authorsนุตติยา วีระวัธนชัย, ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRS165.O5 น732ร 2557
Keywordsฤทธิ์ระงับปวด, สารสกัดจากพืช--เภสัชฤทธิ์วิทยา, หอมแดง--การใช้รักษา, หอมแดง--เภสัชฤทธิ์วิทยา
Abstract

หอมแดง (Allium ascalonicum L.) และกระเทียม (Allium sativum L.) เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักกันดีและถูกใช้อย่างแพร่หลาย การศึกษาครั้งนี้ทดสอบฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากส่วนหัวของหอมแดงและส่วนหัวของกระเทียมที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอธานอล ทำการศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของสารสกัดหอมแดงและกระเทียมในหนูถีบจักรเพศผู้พันธุ์ ICR ด้วยวิธี Hot-plate และ tail-flick จับเวลาที่หนูสามารถทนอยู่บนแผ่นร้อนและเวลาที่หนูทนต่อความร้อนได้โดยไม่กระดกหาง ก่อนให้สารทดสอบในกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ น้ำเกลือ (10 มล./กก. ทางช่องท้อง) มอร์ฟีน (10 มก./กก. ทางช่องท้อง) สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมขนาด 100-12000 มก./กกซ ทางช่องท้อง หลังให้สารทดสอบ ทำการจับเวลาที่หนูสามารถทนอยู่บนแผ่นร้อนหรือเวลาที่หนูทนสามารถทนต่อความร้อนได้ (% maximum possible effect, %MPE) แล้วนำมาคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟระหว่าง %MPE และเวลา พบว่า สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมทุกขนาดที่ใช้ในการทดสอบไม่มีฤทธิ์ระงับปวด การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมในเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ (RAW 264.7) ที่ได้รับการกระตุ้นให้มีการแสดงออกของยีน inducible nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase (COX)-2, COX-1, tumor necrosis factor (TNF)-α, interleukin (IL)-1β และ IL-6 ด้วยสาร E.coli Lipopolysaccharide ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมที่ความเข้มข้น 0.0625-0.250 มก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อทำการวัดมาณยีนที่แสดงออกด้วย reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) พบว่า สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS, TNF-α, IL-1β และ IL-6 เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้น สารสกัดกระเทียมยับยั้งการแสดงออกของยีน COX-2 และ COX-1 ในขณะที่สารสกัดหอมแดงยับยั้งการแสดงออกของยีน COX-1 และไม่มีผลต้อการแสดงออกของยีน COX-2 ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดหอมแดงและกระเทียมน่าจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการยัลบยั้งการแสดงออกของยีน iNOS เอนไซม์ cyclooxygenase และสาร pro-imflammatory cytokines การวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลรวมในสารสกัดหอมแดงและกระเทียมโดยใช้ปฏิกิริยาการเกิดสีกับสาร Folin-Ciocalteu พบว่า สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมมีปริมาณสารฟีนอลรวมเป็น 15.964±0.122 และ 4.020±0.009 มก.สมมูลกับกรดแกลลิก/ก. ของสารสกัดตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมในสารสกัดโดยใช้ปฏิกิริยาการเกิดสีกับสารอลูมิเนียมคลอไนด์ พบว่า สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมเป็น 11.742±0.012 และ 7.669±0.038 มก.สมมูลกับสารเคอร์ซิทิน/ก. ของสารสกัดตามลำดับ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้สารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมในการรักษาภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือโรคที่เกิดจากภาวะการอักเสบอื่นและควรทำการวิเคราะห์หาสารสำคัญในสารสกัดหอมแดงและสารสกัดกระเทียมในเอธานอลที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบต่อไป

Title Alternate The study of analgesic activity of the extract from Allium ascalonicum