การลดต้นทุนการผลิตเห็ดโดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อทดแทนปริมาณการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในถุงพลาสติก

Titleการลดต้นทุนการผลิตเห็ดโดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อทดแทนปริมาณการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในถุงพลาสติก
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2544
Authorsอุทัย อันพิมพ์, บุญส่ง เอกพงษ์, สมชาย พละสาร
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB353 อ221ล
Keywordsการปลูกเห็ด, การผลิตเห็ด, การลดต้นทุนการผลิต, ขี้เลื่อยยางพารา, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร, เห็ด--ต้นทุนการผลิต
Abstract

จากการศึกษาการลดต้นทุนการผลิตเห็ดโดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อทดแทนปริมาณการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในถุงพลาสติก ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2542 ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่าการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรม 3 สายพันธ์ุบนอาหารวุ้นเลี้ยงเชื้อ พี.ดี.เอ. (potato dextrose agar) และในหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ผลการทดลองพบว่าเห็ดนางรมสายพันธุ์ฮังการี สามารถเจริญเติบโตได้เร็วที่สุดบนอาหารวุ้นเลี้ยงเชื้อ รองลงมาคือ สายพันธุ์สีขาว และนางรมภูฐาน ตามลำดับ สำหรับการเจริญเติบโตของเส้นใยในหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง พบว่า เห็ดนางรมสายพันธุ์ภูฐานสามารถเจริญเติบโตได้เร็วที่สุด ส่วยสายพันธุ์สีขาวเจริญเติบโตเต็มหัวเชื่อเมล็ดข้าวฟ่างได้ช้าที่สุด
การเจริญเติบโจของเส้นใยเห็ดนางรมทั้ง 3 สายพันธุ์ในวัสดุเพาะ 8 สูตรอาหาร พบว่าในสูตรที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 เปอร์เซ็นต์ และสูตรที่ 2 ฟางข้าวนวด 100 เปอร์เซ็นต์ เส้นใยของเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้เร็วที่สุดสำหรับสูตรที 5 และ 7 การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดดินเต็มถุงวัสดุเพาะใช้เวลานานที่สุด สำหรับการให้ผลผลิตน้ำหนักดอกเห็ด พบว่า เห็ดนางรมทั้ง 3 สายพันธุ์ สามารถให้ผลผลิตได้ดีที่สุดในวัสดุเพาะสูตรที่ 1 และ 5 ซึ่งประกอบด้วย ขี้เลื่อย ไม้ยางพารา 75 เปอร์เซ็นต์ ผักตบชวาแห้งสับ 25 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ สูตรที่ 2 และสูตรที่ 8 สำหรับสูตรที่ 3 ที่มี ผักตบชวาแห้งสับเป็นวัสดุเพาะ 100 เปอร์เซ็นต์นั้นจะให้ผลผลิตเฉลี่ยน้อยที่สุดทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Title Alternate Substituting pararubber sawdust with agricutural byproducts to reduce cost of mushroom production