การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในการนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในการนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsเพ็ญพิไล ซื่อสัตย์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA พ893ก
Keywordsการสื่อสารทางการแพทย์--อุบลราชธานี, การสื่อสารสาธารณสุข--อุบลราชธานี, การสื่อสารสุขภาพ, นโยบายสาธารณสุข--อุบลราชธานี, ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ, สุขภาพ--นโยบายของรัฐ
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ (2) การมีส่วนร่วมของภาคึเครือข่ายด้านสุขภาพในการนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพ (4) สิ่งที่ต้องการสนับสนุนการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพ ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 206 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.925 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
(1)การนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
(2)การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในการนำนโยบายการสื่อสารสุขภาพไปปฏิบัติ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านค่าเฉลี่ยที่มีมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลการสื่อสารสุขภาพในชุมชน
(3)ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่ปัญหาขาดแหล่งข้อมูล เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านปัญหาของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตสื่อ ด้านปัญหาในการจัดกิจกรรม คือ ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ ด้านแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าข้อมูลคือขาดแหล่งข้อมูลที่เพียงพอ ด้านสื่อที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพ คือ สื่อที่ใช้ไม่มีความน่าสนใจ
(4)สิ่งที่ต้องการสนับสนุนการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพ พบว่า สิ่งที่ต้องการรับการสนับสนุนมากที่สุด คือ ต้องสื่อสำเร็จรูป เช่น ซีดี เทป สปอตโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสามารถนำเสนอได้ทันที เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ คือ ต้องการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ด้านการจัดกิจกรรมคือ ต้องการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้านแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าข้อมูลด้านสุขภาพ คือ ต้องการเนื้อหาที่ทันสมัย รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์/สถานการณ์โรค ด้านสื่อที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพคือ ต้องสื่อสำเร็จรูป เช่น ซีดี เทป สปอตโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสามารถนำเสนอได้ทันที

Title Alternate Healthcare partnership network's participation in health communications policy implementation in Nong Kin Phen Sub-District, Warinchamrap District, Ubonratchathani Province